ซึ่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบเห็นชัด คือกลุ่มเครื่องดื่ม(ภาษีน้ำหวาน) ที่มีค่าความหวานมากกว่าที่กฎหมายกำหนด จากเดิมที่เก็บภาษีจากฐานราคาเพียงอย่างเดียวแต่อัตราภาษีใหม่จะเก็บในส่วนของความหวานหรือน้ำตาลรวมอยู่ด้วย โดยภาพรวมอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ที่ 20% ซึ่งจะครอบคลุมเครื่องดื่มทุกประเภท ทั้งน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชาเขียว และเครื่องดื่มชูกำลัง โดยจะมีผลบังคับใช้ 16 กันยายน นี้
ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องของกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มเอ็นจีโอ ที่ต้องการให้ประชาชนลดการบริโภคน้ำตาลจะได้ไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพ ผู้ประกอบการมีเวลาในการปรับตัว 2 ปี ซึ่งหากมีการลดความหวานลงก็จะทำให้เสียภาษีในอัตราเท่าเดิมหรือลดลง ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้ประกอบการจะใช้เหตุผลดังกล่าวนี้ปรับเพิ่มราคาสินค้าในช่วง 2 ปีนี้ สำหรับค่าความหวานที่กรมสรรพสามิตแบ่งไว้ เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีจะมีทั้งหมด 6 ระดับ ดังนี้ 1. ค่าความหวาน 0 – 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่ต้องเสียภาษี 2. ค่าความหวาน 6 – 8 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 10 สตางค์ต่อลิตร 3. ค่าความหวาน 8 – 10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 30 สตางค์ต่อลิตร 4. ค่าความหวาน 10 – 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร 5. ค่าความหวาน 14 – 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร และ 6. ค่าความหวาน 18 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
สำหรับผู้ประกอบการเครื่องดื่ม ของหวาน ก็อาจจะต้องเตรียมตัวรับมือกันหน่อย เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและรักษาขอบเขตของต้นทุนไม่ให้เสียภาษีเยอะอีกด้วย ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายต่อไปที่ต้องเตรียมก็คือ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไพ่ เพราะจะมีการเสนออัตราภาษีใหม่ให้ครม.เห็นชอบในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนวันที่ 16 กันยายนนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว เกรงว่าจะเกิดการกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไร