ซึ่งผลวิจัยพบว่า ผู้บริโภคไทยได้รับข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยช่องทางการค้นหาสินค้าและบริการที่หลากหลาย โดยผู้บริโภคไปที่ร้านด้วยจุดประสงค์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการจะซื้อ ซึ่ง 61% ของผู้บริโภคเห็นว่า การใช้สมาร์ทโฟนทำให้พวกเขาศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าต่างๆก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า และจำนวน 58% ค้นพบแบรนด์ใหม่ๆในระหว่างที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่พวกเขาสนใจ ทั้งนี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคอย่างมาก โดย 80% ของคนไทย ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ และ 85% ของผู้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคพบว่าเสิร์ซเอนจิน เป็นเครื่องมือการหาข้อมูลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 93% ใช้เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าดูแลผิวหน้า นอกจากนี้วิดีโอยังได้มีบทบาทในการเลือกแบรนด์ด้วยเช่นกัน โดย 95% ของคนไทยระบุว่า วิดีโอออนไลน์ทำให้มีความรู้สึกในเชิงบวกต่อแบรนด์มากขึ้น
ทั้งนี้ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยมีอัตราการเติบโตลดลง แต่ผู้บริโภคมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัด คือผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อสูง โดยมูลค่าในการจับจ่ายจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอัตราสูงกว่าถึง 1.24 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต
โดยโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นจาก เครือข่าย 3 จี และ 4 จี และระบบเพย์เม้นท์หรือการชำระเงินที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซมีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และคนไทยนิยมใช้โทรศัพท์มือถือในการค้นหาข้อมูลในการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค นักการตลาดจึงควรทำคอนเทนต์วิดีโอที่รองรับ เพื่อให้มีส่วนในการโน้มน้าวในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อช่วยเพิ่มยอมขายสินค้าที่มากขึ้น