โอกาสของคนตัวเล็ก
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
Truehits.net
หน้าแรก
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
หลักสูตรสอนรวย
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
ไลฟ์สไตล์
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
หน้าแรก
หลักสูตรสอนรวย
อื่นๆ
29 กันยายน 2560
by Cheechongruay
อื่นๆ
กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 สร้างโมเดลบริหารจัดการน้ำเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม
'
Facebook
Twitter
Line
สุทัศน์
เล่าว่า กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 ซึ่งมีพื้นที่ดูแลและรับผิดชอบใน ต.ทับหมัน อ.ตะพานหิน และ ต.วัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจิตรแบ่งเกษตรกรผู้ใช้น้ำออกเป็น 4 เขต มีแหล่งน้ำต้นทุนจากเขื่อนสิริกิติ์ โดยอาศัยน้ำที่ไหลผ่านจากอาคารประตูกลางคลองซี1 ยกระดับน้ำซึ่งมีความยาวกว่าจะถึงพื้นที่รับน้ำของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 ประมาณ 5 กิโลเมตรอีกทั้งระหว่างทางการไหลของน้ำนั้นยังต้องผ่านกลุ่มบริหารการใช้น้ำอื่นๆ อีก 3 กลุ่มทำให้ช่วงก่อนปี 2548 เกษตรกรต่างมีปัญหาความขัดแย้งกันเรื่องการส่งน้ำที่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี
“
คนทางต้นน้ำจะเอาน้ำก็มาเปิดบาน คนท้ายจะเอาก็มายกบาน เป็นอย่างนี้ทุกวันจนเกิดการทะเลาะวิวาท เกษตรกรไม่พูดคุยกัน สุดท้ายต่างคนต่างไม่ได้น้ำ เพราะมักเปิด - ปิด จนหมดรอบเวรรับน้ำ 7 วัน
”
สุทัศน์ กล่าว
ภายหลังปี 2548 เมื่อเกษตรกรได้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้น สถานการณ์ต่างๆได้เริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากกลุ่มได้มีการเริ่มจัดประชุมและฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูกลุ่มขึ้นมาใหม่ ให้ความรู้ โดยเน้นการสร้างผู้นำและสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดระหว่างสมาชิกกับผู้นำจนกลุ่มมีความเข้มแข็ง รวมถึงยังมีเจ้าหน้าที่ชลประทานเข้ามามีส่วนในการสร้างมอบองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ พร้อมกับส่งกลุ่มเข้าประกวดกลุ่มผู้ใช้น้ำดีเด่นหลายครั้งและมีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนกับสถาบันการชลประทานและระบายน้ำประเทศญี่ปุ่น (
Japanese Institute ofIrrigation Drainage : JIID)
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรประมงและป่าไม้ของประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียมจึงทำให้คณะกรรมการกลุ่มบริหารการใช้น้ำมีวิสัยทัศน์และทักษะมากขึ้น
ประโยชน์ที่สมาชิกกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 ได้รับ คือลดความขัดแย้ง เข้าใจปัญหาร่วมกัน แก้ไขปัญหาและรับผลประโยชนร่วมกัน โดยการบริหารจัดการน้ำตามสภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นอกจากนี้กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 ยังได้มีการเปิดใจพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าหน้าที่ชลประทานมากขึ้น มี
นายอภิรักษ์ ช่วยพยุง
ช่างฝีมือสนามชั้น 2 ทำหน้าที่พนักงานส่งน้ำ ฝ่ายส่งน้ำที่ 2 วังสำโรง เป็นพี่เลี้ยง นำการบริหารจัดการน้ำของทางกรมชลประทานปรับปรุงให้เหมาะสมกับพื้นที่ นำมาสู่รูปแบบการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมตั้งแต่การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ใช้น้ำ การขยายเครือข่าย และการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในสมาชิกกลุ่ม
“
การสร้างคนให้เข้ามามีส่วนร่วมจึงเป็นเรื่องสำคัญ หลังจากทำความเข้าใจปัญหา รู้ว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากอะไร ก็สร้างคนคุณภาพเข้าไปแก้ปัญหาซึ่งทุกคนจะมีบทบาทหน้าที่ของตัวเองกำหนดไว้อย่างชัดเจน และทำตามหน้าที่ความรับผิดชอบนั้น ยกตัวอย่างประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94ต้องชัดเจนว่าบริหารจัดการได้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงออก และกล้าตัดสินใจหรือเรียกง่ายๆ ว่ามีภาวะผู้นำ
”
สุทัศน์ อธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้กลุ่มเข้มแข็ง
ด้านการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94สุทัศน์กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งจะมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน โดยในช่วงฤดูฝน น้ำมาก จะเกิดปัญหาน้ำล้นหลังคันคลอง เพราะโดยธรรมชาติแล้วน้ำจะไหลไปตามแรงโน้มถ่วง ตามคลองส่งน้ำที่ถูกออกแบบมาให้ปลายคลองเล็กลงเสมอ เมื่อน้ำถูกเติมเข้ามาตลอด จึงระบายน้ำได้ช้า โมเดลการแก้ปัญหาของกลุ่มก็คือ
“
การคืนน้ำกลับ
”
ทุกครั้งก่อนที่จะมีการส่งน้ำจะต้องมีการพูดคุยร่วมกันกับสมาชิกผู้ใช้น้ำถึงความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค จากนั้นถึงจะกำหนดระดับน้ำที่ต้องการของแต่ละคน โดยเมื่อเกษตรกรได้ปริมาณน้ำที่ตั้งไว้แล้ว จะมีการคืนน้ำกลับ ด้วยวิธีปรับบานประตูลงเช่น ถ้าหากเขต 4 มีระดับน้ำเกินกว่า
ที่ตั้งไว้ จะทำการปรับบานประตูลง เพื่อให้น้ำไหลกลับไปยังเขต 3 ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในเขต 3 เพิ่มขึ้น หากระดับน้ำเกินกว่าที่เขต 3 ตั้งไว้ ก็จะทำการปรับบานประตูลง เพื่อให้น้ำไหลกลับไปยังเขต 2 เช่นนี้เรื่อยไปจนถึงเขต 1 ท้ายที่สุดซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำและแก้ปัญหาน้ำล้นหลังคันคลอง ส่งผลให้ฤดูแล้งไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำเช่นในอดีต
ส่วนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่มีความต้องการน้ำสูง ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกับช่วงฤดูฝน คือจะต้องมีการพูดคุยตกลงกันก่อนร่วมกับสมาชิกผู้ใช้น้ำถึงความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค โดยเน้นบริหารจัดการตามความเป็นจริงเพราะกลุ่มจะไม่มีการบังคับให้เขื่อนสิริกิติ์เปิดน้ำให้ใช้ได้ตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ การจัดรอบเวรแบ่งน้ำตลอด 7 วัน ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จำนวนกว่า 400 คน อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมตามสภาพความเป็นจริงของแต่ละคน
Tags:
กรมชลประทาน
ชลประทาน
'
Facebook
Twitter
Line
Trending
21 ฮวงจุ้ย การนอนให้ถูกทิศ ชีวิตร่ำรวย และประสบความสำเร็จ
แจกสูตร 10 เมนู “ไก่ทอด” ยอดฮิต ทำกินง่าย ทำขายกำไรรวย
แจก 9 สูตร “หมูทอด” สร้างอาชีพ ทำกินเองก็ได้ ทำขายกำไรรวย
ขี้ช่องรวย แจก 2 สูตรทำ “โรตี” ใช้งบหลักร้อย ทำอร่อยเตรียมเปิดร้านได้เลย
แจกสูตร “หมูแดดเดียว” ทำเงิน สร้างรายได้มีเงินเก็บเดือนละ 30,000 บาท