โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

กรมชลฯ ยืนยัน เกษตรกรรายย่อยไม่ต้องจ่ายภาษีน้ำ

        โดยเฉพาะในมาตราที่เกี่ยวกับการเก็บค่าน้ำ คือ มาตรฐานที่ 39 และ มาตราที่ 47 ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมซึ่งต้องใช้ระยะเวลา และที่สำคัญจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องตามกระบวนของกฎหมาย หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุม สนช.พิจารณาในวาระที่ 2 วาระที่ 3 ตามลำดับ ก่อนเสนอให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงนามพระปรมาภิไธย         สำหรับพ.ร.บ.น้ำดังกล่าว จะบังคับใช้เฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานเท่านั้น ในพื้นที่ชลประทานยังใช้ พ.ร.บ. ชลประทานหลวงบังคับใช้ ซึ่งจะไม่มีการเรียกเก็บค่าน้ำในภาคการเกษตรไม่ว่ากรณีใดๆ แม้ว่าตามพ.ร.บ. ชลประทานหลวง จะกำหนดให้เก็บค่าชลประทาน ซึ่งไม่เรียกว่าค่าน้ำ จากภาคการเกษตรได้ในอัตราไม่เกิน 5 บาทต่อไร่ก็ตาม แต่ไม่เคยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนไหนออกประกาศกระทรวงฯให้จัดเก็บค่าน้ำแต่อย่างใด         โดยจะจัดเก็บเฉพาะน้ำที่จัดสรรให้กับภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และน้ำเพื่อการประปาเท่านั้น ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์ ดังนั้นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จาก พ.ร.บ.น้ำ ดังกล่าวอย่างแน่นอน         ส่วนเกษตรกรรายย่อยที่อยู่นอกเขตชลประทาน ที่พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำฉบับดังกล่าวจะเข้าไปดูแลนั้น จะไม่ต้องจ่ายค่าน้ำเช่นกัน เนื่องจากจะมีการกำหนดประเภทการใช้น้ำโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 เพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภค ในครัวเรือน เกษตรหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ ประเภทที่ 2 เพื่อการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ผลิตพลังงานไฟฟ้า ประปา และกิจการอื่นๆ และประเภทที่ 3 ใช้น้ำเพื่อกิจการขนาดใหญ่ ใช้น้ำมาก         ซึ่งตามร่างพ.ร.บ.น้ำ จะจัดเก็บค่าน้ำเฉพาะประเภทที่ 2 และ 3 แต่ยังไม่มีการกำหนดว่าจะจัดเก็บเท่าไร สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานแทบทั้งหมดในปัจจุบันจะอยู่ในประเภทที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายค่าน้ำแต่อย่างใด         อย่างไรก็ตามเกษตรกรทั้งที่อยู่ในเขตและนอกเขตชลประทานสบายใจได้ว่า จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จาก พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ เพราะจะไม่มีการจัดเก็บค่าน้ำจากเกษตรกรรายย่อยเลย แม้จะมีการรวมกันทำการเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาลก็ตาม แต่ก็ยังเป็นเกษตรกรรายย่อยๆ มารวมกันหลายๆ คนเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องจ่ายค่าน้ำ ในทางตรงข้าม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะสร้างความเป็นธรรมในการใช้น้ำให้กับทุกภาคส่วน ภาคการเกษตรมีน้ำใช้อย่างพอเพียง ทำให้ประชาชนรู้คุณค่าน้ำมากขึ้น และใช้น้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำ รักษาสิ่งแวดล้อม และเกิดความยั่งยืนในการใช้น้ำ