นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ในการประสานความร่วมมือกับสภาอุ
ตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยในส่วนของสถาบัน อาหาร จะทำหน้
าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่
วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนิ
นงานของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุ
ตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center พบว่า ภาคการผลิตอุ
ตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2560 (ม.ค. - ก.ย.) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ส่วนภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทย มีปริมาณ 25.26 ล้านตัน มูลค่า 768,797 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.3 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ
ทั้งนี้จากปัจจัยมีความต้
องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้
น หลังจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้
าสำคัญเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีน ขณะที่เศรษฐกิจและการค้าในกลุ่
มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริ
กาก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น กลุ่มสินค้าหลักที่การส่งออกเพิ่
มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่ ข้าว ไก่ กุ้ง เครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์มะพร้าว และอาหารพร้อมรับประทาน โดยกลุ่มสินค้าที่การส่งออกมี
ปริมาณลดลงแต่มูลค่าขยายตัวสู
งขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทรายซึ่งมีมูลค่าขยายตั
วสูงขึ้นตามราคาน้ำ
ตาลทรายในตลาดโลกที่อยู่ในระดั
บสูงในครึ่งแรกของปี เช่นเดียวกับการส่งออกปลาทูน่
ากระป๋อง หลังจากที่ผู้ผลิตมีการปรั
บราคาจำหน่ายสูงขึ้นสอดคล้องกั
บต้นทุนวัตถุดิบทูน่าที่เพิ่มขึ้
นเกือบ 100% จากปีก่อน ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรด (กระป๋องและน้ำสับปะรด) เพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณหลังจากมี
ความต้องการจากต่างประเทศเพิ่
มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้
ภาวะที่ผลิตภัณฑ์สับปะรดมี
ราคาอ่อนตัวลงมากตามราคาวัตถุดิ
บสับปะรดโรงงาน
ขณะที่สินค้าหลักที่การส่
งออกหดตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่
ามีเพียง 2 กลุ่มสินค้า คือ แป้งมันสำปะหลังดิบ (Native Starch) และน้ำผลไม้ (ไม่รวมน้ำสับปะรด) โดยการส่งออกแป้งมันสำปะหลังดิ
บไปตลาดหลักอย่างจีนต้องเผชิ
ญการแข่งขันรุนแรงจากผู้ส่
งออกเวียดนามที่ใช้ข้อได้เปรี
ยบจากการส่งสินค้าผ่
านชายแดนทำให้ไม่ต้องเสียภาษีมู
ลค่าเพิ่ม ส่วนตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2อย่าง อินโดนีเซีย มีการหดตัวมากเช่นกัน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังในอิ
นโดนีเซียมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่วนการส่งออกน้ำผลไม้หดตัวลง เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มี
การปรับปรุงระบบการผลิตน้ำมะพร้
าวให้สอดรับกับมาตรฐานใหม่ที่
ประกาศใช้โดย European Fruit Juice Association (AIJN) ส่งผลทำให้กำลังการผลิตลดลงในช่
วงสั้นๆ คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ในช่วงปลายปี 2560 หรือต้นปีหน้า
สำหรับข้อมูลตลาดส่
งออกอาหารไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 ที่มีอัตราขยายตัวสูง ได้แก่ ตะวันออกกลาง (+25.2%), จีน (+22.2%), กลุ่มประเทศ CLMV (+19.9%) และแอฟริกา (+17.1%) ส่วนตลาดหลักที่ไทยส่งออกลดลง ได้แก่ อาเซียนเดิม (-10.7%), สหรัฐอเมริกา (-2.3%) และสหราชอาณาจักร (-10.9%) โดยกลุ่มประเทศ CLMV ยังคงเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดั
บที่ 1 ของไทย มีสัดส่วนร้อยละ 16.6 รองลงมา ได้แก่ ญี่ปุ่น (13.5%), อาเซียนเดิม (11.6%), สหรัฐอเมริกา (10.6%), แอฟริกา (9.3%), จีน (9.0%), สหภาพยุโรป (6.0%), ตะวันออกกลาง (4.2%), โอเชียเนีย (3.3%), สหราชอาณาจักร (3.0%) และเอเชียใต้ (1.6%)
อย่างไรก็ตามภาพรวมการส่
งออกอาหารไทยในปี 2560 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกอยู่
ที่ 1.03 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ประเมินว่าอุ
ตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงไตรมาสสุ
ดท้ายของปี 2560 จะยังได้รับปัจจัยสนับสนุนต่
อเนื่องจากแนวโน้มการขยายตั
วของเศรษฐกิจโลก ต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดั
บต่ำ ปริมาณผลผลิตสินค้
าเกษตรในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการส่งออกไก่ยังได้รั
บอานิสงส์จากกรณี
การระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิ
ภาคเอเชียตะวันออก และปัญหาความเชื่อมั่นด้
านความปลอดภัยเนื้อสัตว์
ของบราซิล ประกอบกับความต้องการสินค้
าอาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพื่
อรองรับเทศกาลเฉลิมฉลองในช่
วงปลายปี จะมีส่วนกระตุ้นให้การส่
งออกอาหารไทยในช่วงไตรมาสสุดท้
ายของปีขยายตัวต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในอัตรา ร้อยละ 8.7 โดยมีมูลค่าส่งออก 1.12ล้านล้านบาท มีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาเซียน สัดส่วนส่งออกประมาณร้อยละ 30 ญี่ปุ่นร้อยละ 14 สหรัฐฯร้อยละ 10 จีนและแอฟริกามีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 9 เป็นต้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญประกอบด้วย 1. เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประเมินอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2561 ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.7จากร้อยละ 3.6 ในปี 2560 2.ผลผลิตสินค้าเกษตรไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน กุ้ง ไก่ ส่วนผลผลิตมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง 3.ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มลดลงตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จะส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของไทย โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สำคัญ 3 รายการ ได้แก่ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง และปลาป่น 4.ราคาสินค้าส่งออกหลักของไทยอยู่ในกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลกหลายรายการ รวมถึง ข้าว ไก่ และกุ้ง และ 5.ราคาพลังงานอยู่ในระดับต่ำไม่กระทบต้นทุนสินค้า ในภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารตลอดจนภาคการขนส่งมากนัก