โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

กรมชลประทานศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียดทั้งระบบ เพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการน้ำท่วม – น้ำแล้ง

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียดเผชิญหลายปัญหาหลังใช้งานมานาน ด้วยสภาพการใช้งานที่เป็นอยู่เวลานาน ทำให้ปัจจุบันโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด กำลังเผชิญปัญหาการแพร่กระจายน้ำเนื่องจากคูส่งน้ำเป็นคลองดิน และระดับน้ำส่วนใหญ่ต่ำกว่าพื้นที่นา ประกอบกับการที่ใช้คลอง ธรรมชาติเป็นคลองระบายน้ำมาโดยตลอด ส่งผลให้คลองธรรมชาติสายต่างๆ เริ่มตื้นเขิน ไม่สามารถระบายน้่ำได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังต้องสูญเสียน้ำมาก จากการรั่วซึมของระบบชลประทานและอาคารก่อสร้างที่สร้างมาเป็นเวลานาน อัตรา กำลังของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะดูแลและบำรุงรักษาอาคารก่อสร้างต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพได้ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ด้านแหล่งน้ำในพื้นที่ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ กล่าวว่า “โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ท่าเชียดถูกออกแบบและสร้างมากว่า 50 ปีแล้ว โดยในตอนนั้นสร้างมาเพื่อเป็น การส่งน้ำจากนาข้าว เพราะนาข้าวจะน้ำเยอะมาก ต่อมานาข้าวถูกเปลี่ยนจาก แสนไร่เหลือประมาณห้าพันกว่าไร่ การใช้ที่ดินจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลา 30 ปีมานี้ ทำให้รูปแบบการส่งน้ำหรือคลองส่งน้ำที่สร้างไว้แล้ว ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ที่ดินในปัจจุบัน” ศึกษาความเหมาะสม เพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทานเล็งเห็นถึงความสำคัญในการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียดให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน จึงได้เดินหน้าศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด ทั้งระบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการน้ำแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ของโครงการ และพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำ ตลอดจนศึกษาเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เพียงพอกับความต้องการ และ แนวทางการระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ โดยพิจารณาถึงสภาวะที่น้ำทะเลหนุน บริเวณพื้นที่ตอนล่างของโครงการ พร้อมเสนอแผนการเกษตรและระบบการปลูกพืช ที่เหมาะสม นำ Agri-map และเกษตรแปลงใหญ่มาประยุกต์ใช้ รวมทั้งศึกษาวางระบบโทรมาตรและการเตือนภัย โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน นอกจากนี้ยังส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและรูปแบบองค์กรบริหารจัดการน้ำชลประทานที่เหมาะสม

นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้กรมชลประทานได้ดำเนิน โครงการศึกษาความเหมาะสมการ ปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุง รักษาท่าเชียดดังกล่าวทั้งระบบ เพื่อให้ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รองรับการเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดินและสภาพภูมิอากาศ ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตาม แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำของคณะกรรมการ กำหนดนโยบายและการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำในยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาค การผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) ในกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพโครงการ แหล่งน้ำและระบบชลประทานเดิม สร้างมาเป็นเวลานาน มีการสูญเสียน้ำมาก และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คาดว่าผลการศึกษาดังกล่าว จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2561”