คุณวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่
งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุ
นในเขตประกอบการเสรี (FreeTrade Zone) ทั้ง 11 แห่ง ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า นิคมอุ
ตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุ
ตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ นิ
คมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี และนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี และนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้
นอกจากนักลงทุนและผู้
ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์
ต่างๆในด้านภาษีอากร เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจั
กรอุปกรณ์ รวมทั้งกรรมสิทธิ์ในด้านพื้นที่ การโอนย้ายเงินตรา การขนส่ง และอื่นๆ อย่างมากมายแล้ว กนอ.ได้ให้ความสำคัญกับการให้
บริการและการบริหารจัดการให้มี
ประสิทธิภาพเพื่อยกระดับนิคมอุ
ตสาหกรรมให้เป็นฐานการผลิตที่มี
ความสมบูรณ์แบบ เหมาะสมกับสถานการณ์และทันกั
บการแข่งขันในตลาดโลกยิ่งขึ้น
โดยได้นำนวัตกรรม เทคโนโลยี และระบบอัจฉริยะมาให้บริการด้
านอนุมัติอนุญาตนำส่งสินค้าเข้า
-ออกในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเอื้
อให้มีความรวดเร็ว ฉับไว พร้อมสร้างประสิทธิภาพในด้
านผลลัพธ์และคุ้มค่ากับการลงทุ
นอย่างสูงสุด ล่าสุด กนอ.ได้พัฒนาระบบบริการคิวอาร์
โค้ด (QR CODE) การอนุญาตอนุมัติการนำเข้
าวัตถุดิบเพื่อการผลิตและการส่
งออกสินค้าโดยที่ไม่ต้องมี
ลายเซ็นของกนอ. โดยผู้
ประกอบการส่งคำขอผ่านระบบอิเล็
กทรอนิกส์ e-pp โดยเจ้าหน้าที่ กนอ.พิจารณาอนุญาตในระบบ พร้อมทั้งข้อมูลการอนุญาตของผู้
ประกอบการก็ยังคงถูกเชื่
อมโยงไปยังกรมศุลกากรเช่นเดิม แ
ต่ข้อมูลการอนุมัติทั้งหมดนั้
นจะถูกเชื่อมโยงไปยังระบบของผู้
ประกอบการและสามารถพิมพ์หนังสื
ออนุญาตแบบมีคิวอาร์โค้ด
พร้อมนำหนังสืออนุญาตที่ได้รั
บไปทำพิธีการต่อไปที่กรมศุ
ลกากรได้เอง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจะใช้เพี
ยงแค่สมาร์ทโฟนสแกนคิวอาร์โค้
ดบนหนังสืออนุญาตที่ผู้
ประกอบการแสดงพร้อมตรวจเช็คข้อมูลความถูกต้
องในระบบฐานข้อมูลว่าข้อมู
ลตรงกันหรือไม่ ซึ่งระบบใหม่นี้ช่วยลดได้ทั้งขั้
นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน เพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งสิ
นค้า ช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลที่
จำเป็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร
นอกจากนี้ ในปี 2561 กนอ.ยังมีแนวคิดในการยกระดั
บระบบการอนุมัติอนุญาตให้เป็
นแบบไร้กระดาษ แต่ยังคงไว้ซึ่งการยื่นระบบ การพิจารณา และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เป็
นแบบเดิมเพียงแค่ผู้ประกอบการจดจำเลขที่
หนังสืออนุญาตแล้วไปดำเนินพิธี
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือวั
ตถุดิบถัดไปที่กรมศุลกากร โดยเจ้าหน้าที่จากกรมศุลฯ จะตรวจสอบเลขที่หนังสืออนุ
ญาตในระบบฯ ที่ผู้ประกอบการแสดง อย่างไรก็ตาม กนอ.คาดว่าบริการรูปแบบใหม่นี้
จะช่วยลดขั้นตอน เพิ่มความรวดเร็วให้แก่ผู้
ประกอบการไม่ต้องเสียเวลา อย่างไรก็ตาม กนอ.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกั
นกับกรมศุลกากร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2561
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองสิทธิประโยชน์ ฝ่ายบริการผู้ประกอบการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถนนนิคมมักกะสัน กรุงเทพฯ โทร. 0 2253 0561 ต่อ 4446 หรืออีเมล investment.1@ieat.mail.go.th