โอกาสของคนตัวเล็ก
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
Truehits.net
หน้าแรก
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
หลักสูตรสอนรวย
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
ไลฟ์สไตล์
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
หน้าแรก
หลักสูตรสอนรวย
อื่นๆ
19 มกราคม 2561
by Cheechongruay
อื่นๆ
บุคคลชลประทาน อุดมการณ์ที่ยึดมั่น ของ“บุญเลิศ หอมจันทร์” สู่การผลักดันการมีส่วนร่วมของประชาชน
'
Facebook
Twitter
Line
วางแผนการส่งน้ำ คาดการณ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
นายบุญเลิศ
เล่าให้ฟังว่า ตนเริ่มต้นการทำงานที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว สำนักงานชลประทานที่
12
มาตั้งแต่ปี
2532
ดูแลรับผิดชอบครอบคลุมทั้งหมด
3
อำเภอคือ อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอสามชุก และอำเภอหนองหญ้าไซจังหวัดสระบุรี บทบาทการทำงานจะมีตั้งแต่ด้านการจัดสรรน้ำซึ่งจะเน้นลงพื้นที่ภาคสนามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้องช่วยเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกพืชและรายงานการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำงานให้ครอบคลุม ให้สมกับคำว่า
“
ชลประทานเพื่อประชาชน
”
“
ในช่วงแรกที่ผมเข้าไปทำงานนั้น ข้อมูล เช่น ระดับน้ำ พื้นที่การเพาะปลูก ยังไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบและส่วนใหญ่จะเป็นการจัดเก็บลงในสมุด ผมจึงได้จัดทำฐานข้อมูลใหม่ขึ้น โดยป้อนข้อมูลที่ได้จากการภาคสนาม ย้อนหลังตั้งแต่ปี
2525
ลงบนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นได้ประยุกต์ข้อมูลออกมาเป็นสูตรในตารางบนกระดาษ
A4”
ด้วยรูปแบบการทำงานของนายบุญเลิศ ทำให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียวมีข้อมูลพร้อม สำหรับเจ้าหน้าที่ชลประทานท่านอื่นๆ สามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปชี้แจงแผนการส่งน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำในการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี
ขานรับนโยบายรัฐ สู่การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
เมื่อข้อมูลพร้อมก็มาถึงขั้นตอนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ นายบุญเลิศ อธิบายว่าในอดีตต้องยอมรับว่าประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลย เพราะอำนาจการบริหารทั้งหมดอยู่ที่กรมชลประทาน จะเปิดน้ำเมื่อไหร่ ปิดน้ำเมื่อไหร่ หรือเปิดอย่างไร กรมชลประทานเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่เกิดแต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้น
กรมชลประทานเดินตามนโยบายของรัฐ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี
2540
ที่กำหนดว่าหน่วยงานของรัฐต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งนายบุญเลิศได้วางเป้าหมายงานในขณะนั้นไว้ที่
3
ปี (ปี
2544-2546)
ในการสร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนบริหารจัดการน้ำสำเร็จ ทำให้เขาได้สร้างทีมงานที่มีใจรักและมีอุดมการณ์เดียวกัน ทำงานร่วมกันมาจนถึงทุกวันนี้
นายบุญเลิศ เล่าว่า
อันดับแรกที่ต้องทำ คือ
สำรวจปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งจากการลงพื้นที่ก็ได้ข้อสรุปว่าเพราะประชาชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ทำให้มีการทะเลาะเบาะแว้ง แย่งน้ำกันรวมถึงไม่มีการบำรุงรักษา ดูแล และขุดลอกคูส่งน้ำที่กรมชลประทานสร้างไว้ ทำให้คูรก ต้นไม้ขึ้นกีดขวางทางน้ำ ทั้งที่ตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำก็ได้ระบุไว้ว่า ถ้าคูส่งน้ำผ่านพื้นที่ใคร คนนั้นจะต้องดูแลบำรุงรักษาให้คงอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี มีขุดลอกอย่างน้อยปีละ
1
ครั้ง แต่ข้อมูลตรงนี้ประชาชนไม่รู้ การสร้างการมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำร่วมกันจึงไม่เกิดผลสำเร็จ
เมื่อได้งบประมาณมา นายบุญเลิศจึงนำมาปรับปรุงคลองส่งน้ำ คลองส่งน้ำทุกสายจะดาดคอนกรีตปรับปรุงใหม่หมดพร้อมกับได้จ้างนักประสานงานชุมชน
22
คน ซึ่งทุกคนจะต้องผ่านการอบรมก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน (กลุ่มพื้นฐาน) ซึ่งนายบุญเลิศและทีมงานใช้เวลาเพียง
5-6
เดือน ในการสร้างกลุ่มทั้งหมด
278
กลุ่มจนสำเร็จ โดยระยะเวลาน้อยกว่าแผนที่วางไว้คือ
1
ปี
ละลายพฤติกรรม สร้างสมานฉันท์ลดทะเลาะเบาะแว้ง
หลังจากปีแรกสำเร็จตามแผนในการจัดตั้งกลุ่มพื้นฐาน ปีที่
2
นายบุญเลิศได้เดินหน้าจัดตั้งกลุ่มบริหารซึ่งง่ายขึ้น เพราะกลุ่มพื้นฐานถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการน้ำ จากนั้นก็ยกระดับกลุ่มพื้นฐานที่บริหารน้ำในคูขึ้นมาบริหารน้ำในคลอง ให้ความรู้ จัดอบรมวิธีการบริหารจัดการน้ำ แก้ปัญหาเดิมๆ ที่มีการทะเลาะเบาะแว้ง มาเป็นการจัดรอบเวรการใช้น้ำ รวมทั้งละลายพฤติกรรมระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกร เกษตรกรกับชลประทาน และเกษตรกรกับผู้นำชุมชน โดยเอาคนทั้งหมดในพื้นที่ประมาณ
150
คน มาจัดอบรม กินนอน ค้างคืนอยู่ด้วยกัน จากคนที่ไม่เคยรู้จักกันเมื่อได้มามีกิจกรรมร่วมกัน ก็สนิทสนม สมานฉันท์เหมือนพี่เหมือนน้องกันในที่สุด
มาถึงปีที่
3
ขั้นตอนสุดท้าย
คือการคัดเลือกคณะกรรมการจัดการชลประทาน เพื่อไปบริหารน้ำในอ่างเก็บน้ำร่วมกับกรมชลประทาน (
Joint Management Committeefor Irrigation : JMC)
ให้ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจและกรมชลประทานเป็นเพียงผู้ดำเนินการดูแล บริหารให้เท่านั้น
“
ชลประทานมีหน้าที่ชี้แจงอย่างเดียวว่าน้ำในอ่างเก็บน้ำมีเท่าไหร่ ถ้ามีน้อยก็บอกน้อย ไม่พอกับการส่งน้ำทำนาปรัง และเกษตรกรต้องคิดเอง ให้เขาคิดเป็นว่าสถานการณ์เช่นนี้ต้องช่วยกันประหยัดน้ำ ตัวอย่างเช่น ปลูกข้าว
1
ไร่ใช้น้ำ
1,300
คิว ถ้าใช้หมดถือว่าอยู่ในเกณฑ์ แต่ถ้าใช้เกินที่ตั้งไว้แสดงว่าขาดทุน แต่ถ้าประหยัดการใช้น้ำลงก็จะเป็นกำไรมีน้ำใช้เพียงพอในฤดูกาลต่อไป ผมพยายามเน้นทุกครั้งว่าน้ำเป็นของพี่น้อง เขาจะได้เห็นคุณค่า บางทีการประหยัดน้ำเขาอาจจะมองไม่เห็นว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน แค่อย่าปล่อยน้ำทิ้ง ปิดปากคู หมั่นดูรูรั่ว ก็ช่วยประหยัดได้แล้ว ซึ่งจะมีการสรุปเป็นตัวเลขให้เห็นในการประชุมของ
JMC
อย่างน้อยปีละ
2
ครั้งก่อนการส่งน้ำ
”
ภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจนและรางวัลที่แท้จริง
ผลจากอุดมการณ์และความมุ่งมั่น ส่งผลให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว คว้ารองชนะเลิศ รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ขององค์การสหประชาชาติ
(UN)
เมื่อปี
2544
ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้จากการร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและภาคประชาชน นายบุญเลิศ บอกว่า เขาไม่เคยหวังในเรื่องของรางวัลเลย เพราะรางวัลที่ได้รับเป็นผลพลอยได้จากการทำงาน มีรางวัลเดียวที่หวังไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการคือทำอย่างไรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับชลประทานให้ได้และยั่งยืน
“
นี่คือรางวัลที่แท้จริง
”
Tags:
ข่าวอัพเดท
กรมชล
บุคคลชลประทาน
'
Facebook
Twitter
Line
Trending
21 ฮวงจุ้ย การนอนให้ถูกทิศ ชีวิตร่ำรวย และประสบความสำเร็จ
แจกสูตร 10 เมนู “ไก่ทอด” ยอดฮิต ทำกินง่าย ทำขายกำไรรวย
แจก 9 สูตร “หมูทอด” สร้างอาชีพ ทำกินเองก็ได้ ทำขายกำไรรวย
ขี้ช่องรวย แจก 2 สูตรทำ “โรตี” ใช้งบหลักร้อย ทำอร่อยเตรียมเปิดร้านได้เลย
แจกสูตร “หมูแดดเดียว” ทำเงิน สร้างรายได้มีเงินเก็บเดือนละ 30,000 บาท