โอกาสของคนตัวเล็ก
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
Truehits.net
หน้าแรก
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
หลักสูตรสอนรวย
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
ไลฟ์สไตล์
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
หน้าแรก
หลักสูตรสอนรวย
อื่นๆ
2 กุมภาพันธ์ 2561
by Cheechongruay
อื่นๆ
3 เมกะโปรเจกต์งานวิจัยปี 61 “เกษตร - บิ๊กดาต้า - โอทอป/เอสเอ็มอี”
'
Facebook
Twitter
Line
รศ.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผยว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการสำรวจ ศึกษาถึงอุปสรรค ปัจจัยต่างๆ ของประเทศไทยที่ยังมีช่องว่าง และโอกาสของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์มาบูรณาการในการพัฒนา จนเป็นที่มาของการริเริ่ม 3 เมกะโปรเจกต์งานวิจัยประจำปี 2561 ดังนี้
1.SCI for AGRICULTURE: วิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตร ต่อยอดศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศไทย ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สู่การพัฒนากระบวนการทำการเกษตรของชาวบ้าน เกษตรกรที่มีโจทย์สำคัญในการทำงานคือ ต้องเป็น “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อประชาชน” ที่ชาวบ้านและเกษตรกรทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ และสามารถดึงศักยภาพของปัจจัยแวดล้อมออกมาให้เป็นประโยชน์สูงสุด
โดยจะเป็นการพัฒนาแบบครบวงจร นับตั้งแต่พัฒนาการเพาะปลูก พัฒนาคุณภาพผลผลิต ยกระดับแพ็คเกจจิ้ง รวมไปถึงการต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ในปี 2561 จะเป็นการนำร่องด้วย 2 โครงการหลัก คือ “โครงการกล้วยหอมทองปทุมธานี” การพัฒนา “กล้วยหอมทองจังหวัดปทุมฯ” พืชเศรษฐกิจประจำท้องถิ่นตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และ “โมเดลสมาร์ทฟาร์มเมอร์ วิถีเกษตรอินทรีย์ 4.0” โมเดลส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและใช้ต้นทุนต่ำลงถึง 2 เท่า
2.SCI for BIG DATA: วิทยาศาสตร์เพื่อการจัดการข้อมูล การพัฒนางานวิจัย เพื่อให้ประเทศไทยเท่าทันกระแสเมกะเทรนด์เทคโนโลยีของโลกในเรื่อง บิ๊กดาต้า (Big Data) และคลาวด์ (Cloud) และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคม เน้นการจัดการข้อมูลบิ๊กดาต้าหรือเซ็ตข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์ และประมวลผลออกมาเป็นข้อมูล เพื่อใช้พัฒนาเป็นประโยชน์ ตลอดจนเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นหรือคาดการณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
ประกอบด้วย 2 โครงการหลัก คือ “เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อความมั่นคง” การจัดการข้อมูลบิ๊กดาต้า มาวิเคราะห์ และประเมินถึงเหตุการณ์ที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต และกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ “ระบบวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ” การจัดการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และประมวลผลในด้านต่างๆ เช่น การสำรวจพฤติกรรมการเลือกเสพสื่อของผู้บริโภค การเก็บสถิติการใช้สิทธิประกันสังคมของประชาชน เพื่อสำรวจสิทธิการเข้าถึงการรักษาในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ
3.SCI for OTOP/SMEs: วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการโอทอปและเอสเอ็มอี ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อยกระดับสินค้าของผู้ประกอบการท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อย ที่ถือเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสากล พร้อมตีตลาดภายในประเทศ และต่อยอดส่งออกไปยังต่างประเทศ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้วิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา สู่บริการให้คำปรึกษา และร่วมพัฒนา
ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ 2 โครงการหลัก ดังนี้ “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมความอร่อย” บริการวิจัยและพัฒนารสชาติ คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยนักชิมที่มีความเชี่ยวชาญทางการทดสอบ และประเมินคุณภาพด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ “ศูนย์พัฒนาบรรจุภัณฑ์โอทอปและเอสเอ็มอี ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” โครงการศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น และผู้ประกอบการ รายย่อย ในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมทันสมัยต่างๆ เพื่อยกระดับและสินค้า อาทิ การพัฒนาวัสดุเพื่อผลิตแพ็คเกจจิ้งที่สามารถดึงศักยภาพของสินค้าออกมาได้มากที่สุด
นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้ทำการสำรวจกลุ่มงานวิจัยที่ประเทศต้องการ ดังนี้ 1.ด้านเกษตร การพัฒนาระบบหรือนวัตกรรมรองรับภาคการเกษตร อาทิ ระบบควบคุม-สั่งการระยะไกลด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (iOT) 2.ด้านความมั่นคง การพัฒนานวัตกรรมทางทหาร เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศในงบประมาณสูง อาทิ เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุระเบิดต้องสงสัย ตลอดจนนวัตกรรมเช็คความเครียดนายทหาร ที่ปัจจุบันมีอัตราการเสียชีวิตสูง จากการเครียดสะสม ฯลฯ
3.ด้านเทคโนโลยี การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลที่ยากต่อการเข้าถึง โดยอาศัยเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ อาทิ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ระบบจัดเก็บข้อมูลสำคัญ (ข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ดิน ฯลฯ) ด้วยการกระจายข้อมูลไปจัดเก็บในระบบต่างๆ พร้อมตั้งค่ารหัสเพื่อป้องกันการเข้าถึงอีกหนึ่งชั้น 4.ด้านพลังงาน การพัฒนางานวิจัยเพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากพลังงานในรูปแบบอื่น หากประเทศต้องตกอยู่ในภาวะที่พลังงานธรรมชาติขาดแคลน
5.ด้านการท่องเที่ยว การพัฒนานวัตกรรมหรือระบบบริการที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ยังคงเดินหน้าพัฒนาคุณภาพงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาศักยภาพบัณฑิต ผ่านการปรับโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน ในรูปแบบ “SCI+BUSINESS” หลักสูตรผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์และบริหารธุรกิจ
โดยการกำหนดให้นักศึกษาแรกเข้าชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ในรายวิชาบริหาร และเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานเป็นพื้นฐาน (Project based learning) ตลอดการเรียนในชั้นปีที่ 2-4 เพื่อเป็นการบ่มเพาะให้บัณฑิตมีหลักคิดแบบผู้ประกอบการ ที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การคิดพัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อสังคม ตลอดจนสามารถต่อยอดได้เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีศักยภาพ รศ.สมชาย กล่าวทิ้งท้าย
Tags:
ชี้ช่องรวย
มธ.
SME Connect
เกษตร
เอสเอ็มอี
โอทอป
บิ๊กดาต้า
'
Facebook
Twitter
Line
Trending
21 ฮวงจุ้ย การนอนให้ถูกทิศ ชีวิตร่ำรวย และประสบความสำเร็จ
แจกสูตร 10 เมนู “ไก่ทอด” ยอดฮิต ทำกินง่าย ทำขายกำไรรวย
แจก 9 สูตร “หมูทอด” สร้างอาชีพ ทำกินเองก็ได้ ทำขายกำไรรวย
ขี้ช่องรวย แจก 2 สูตรทำ “โรตี” ใช้งบหลักร้อย ทำอร่อยเตรียมเปิดร้านได้เลย
แจกสูตร “หมูแดดเดียว” ทำเงิน สร้างรายได้มีเงินเก็บเดือนละ 30,000 บาท