โอกาสของคนตัวเล็ก
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
Truehits.net
หน้าแรก
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
หลักสูตรสอนรวย
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
อาชีพรวย
อาหาร
เครื่องดื่ม
แฟชั่น
บริการ
ชี้ช่องทำกิน
ทำเล
สินค้า
อุปกรณ์ทำกิน
ไลฟ์สไตล์
รอบบ้านรอบเมือง
อื่นๆ
ข่าวน่ารู้
คลิปอาชีพรวย
แฟรนไชส์
ข่าวสาร
หน้าแรก
หลักสูตรสอนรวย
อื่นๆ
28 กุมภาพันธ์ 2561
by Cheechongruay
อื่นๆ
ชินวัฒน์ พรหมมาณพ บุคคลผู้ทำงานชลประทาน
'
Facebook
Twitter
Line
นายชินวัฒน์เล่าเรื่องราวในวัยเด็กให้ฟังว่า บรรพบุรุษของเขาประกอบอาชีพเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดพัทลุง แม้จะย้ายตามคุณพ่อที่ทำงานราชการไปหลายที่จนมาเข้าเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แต่ตนเองก็มีความคิดที่จะช่วยยกระดับอาชีพเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการใช้น้ำที่เป็นหัวใจสำคัญของอาชีพนี้ ดังนั้น เมื่อมองเห็นอนาคตของตนตั้งแต่เด็ก นายชินวัฒน์จึงเลือกสอบเข้าที่โรงเรียนการชลประทาน จากนั้นจึงเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร และปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจากการใฝ่รู้ร่ำเรียนวิชาของนายชินวัฒน์ ทำให้เขามีความรู้ที่ครอบคลุมทั้งด้านการบริหาร ฃจัดการน้ำและการเกษตร มีการทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และลงพื้นที่มาช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และขายได้ในราคาที่ดีขึ้นด้วย
มุ่งสร้างโครงการที่มีชีวิตเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
ด้วยความใกล้ชิดกับเกษตรกรมาตั้งแต่เด็ก เมื่อนายชินวัฒน์เข้ารับราชการในกรมชลประทาน ก็ได้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานีมากขึ้น แม้พื้นที่บริเวณนี้จะมีอุปสรรคด้านความรุนแรง แต่นายชินวัฒน์ก็ยังมุ่งมั่นทำงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ของการชลประทาน ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ด้วยการส่งน้ำชลประทานไปให้กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน และยังช่วยแนะนำเรื่องการปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์และข้าวหอมกระดังงา
“
แม้ว่าเราจะทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยง แต่เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ก็คือการกิน ถ้าไม่มีผลผลิตสำหรับบริโภคและซื้อขาย ก็จะนำมาซึ่งความอดอยากและอาจส่งผลให้ความรุนแรงลุกลามมากขึ้น ดังนั้น เราต้องทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปในตอนนี้ เราก็ต้องนำระบบต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไข มาคำนวณและวางแผนกันใหม่ เช่น จากงานวิจัยที่พบว่าข้าวหอมชลสิทธิ์นั้นทนน้ำท่วมได้ดี ก็แนะนำให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์นี้แทนพันธุ์อื่นๆ และยังส่งเสริมให้ทำการตลาด สร้างแบรนด์ข้าวชาวเขื่อนขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานบ้านดอนรัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้าวหอมกระดังงา ที่ในแต่ละปีจะปลูกได้ไม่กี่ช่วงเวลา เนื่องจากเป็นข้าวที่มีความไวต่อแสง แต่มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500บาท ก็ช่วยวางแผนให้เกษตรกรปลูกข้าวหอมกระดังงาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
”
วีรบุรุษตัวจริง มากกว่ารางวัล คือความสุขที่ได้ทำงาน
ท่ามกลางความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่สิ่งที่ทำให้นายชินวัฒน์ยังคงใช้วิถีชีวิตอยู่ร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี นั่นเป็นเพราะเขามีความรักในการทำงาน นายชินวัฒน์กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่าถ้าเรารักงานชลประทานอย่างอื่นก็จะตามมาเอง ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่างๆ ที่ได้ริเริ่มขึ้น หรือคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ดีขึ้น จนทำให้กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน บ้านดอนรักตำบลท่าด่าน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่นแห่งชาติ ในปี 2559 ที่ผ่านมา
“
ส่วนหนึ่งของรางวัลที่ได้ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจของเราและกลุ่มผู้ใช้น้ำแต่จากการที่เราร่วมฝ่าฟันกับกลุ่มเกษตรกรเรื่อยมา การที่ได้เห็นพวกเขาสามารถยืนหยัดด้วยลำแข้งของตัวเองได้ เลี้ยงชีพตัวเองได้ นั่นก็ถือเป็นรางวัลที่เราได้รับอยู่แล้ว
นอกจากนี้ นายชินวัฒน์ยังมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆและผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความรักในงานเหมือนๆ กัน เพราะเขาตระหนักรู้อยู่เสมอว่า ตนนั้นไม่สามารถทำงานทั้งหมดได้ตามลำพังในพื้นที่นี้ จนได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนทำให้เขาได้รู้ว่า วีรบุรุษตัวจริงก็คือผองเพื่อน พี่ น้อง ที่ร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ แก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กันเรื่อยมา
”
แนวทางการทำงานชลประทานในอนาคต
บทบาทของงานชลประทานจะต้องมีแผนแม่บท ใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี เราต้องรู้ว่ามีแหล่งน้ำตรงไหนบ้าง แล้วนำมาวิเคราะห์ในการบริหารน้ำ เพื่อให้มีความมั่นคงด้านน้ำโดยใช้ความรู้ด้านชลประทานที่ได้รับโดยเฉพาะเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจที่หนองจิกนั้นต้องวางแผนเรื่องน้ำให้มีความมั่นคง รวมไปถึงด้านอุตสาหกรรม อุปโภค บริโภค เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในทุกด้าน
“
ผมยังมีเวลาทำงานอีกประมาณ 5 ปีก่อนเกษียณ ระหว่างนี้ผมจะตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ต่อไป พร้อมช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ อย่างเต็มกำลัง แล้วก็วางแผนไว้ให้คนรุ่นต่อไปที่จะเข้ามาทำงานตรงนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้พวกเขาไม่ต้องลำบากเหมือนรุ่นเรา อย่าลืมว่างานชลประทาน ต้องติดดิน ถ้ารักงานนี้ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกับเกษตรกร อยู่กับดินน้ำ เขื่อน คลองส่งน้ำ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แล้วเราจะอยู่ในหัวใจเกษตรกรตลอดไป
”
นายชินวัฒน์ฝากทิ้งท้าย
Tags:
ข่าวอัพเดท
กรมชลประทาน
กรมชล
'
Facebook
Twitter
Line
Trending
21 ฮวงจุ้ย การนอนให้ถูกทิศ ชีวิตร่ำรวย และประสบความสำเร็จ
แจกสูตร 10 เมนู “ไก่ทอด” ยอดฮิต ทำกินง่าย ทำขายกำไรรวย
แจก 9 สูตร “หมูทอด” สร้างอาชีพ ทำกินเองก็ได้ ทำขายกำไรรวย
ขี้ช่องรวย แจก 2 สูตรทำ “โรตี” ใช้งบหลักร้อย ทำอร่อยเตรียมเปิดร้านได้เลย
แจกสูตร “หมูแดดเดียว” ทำเงิน สร้างรายได้มีเงินเก็บเดือนละ 30,000 บาท