โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

หนุน SMEs ใช้หุ่นยนต์ผลิตลดทุนแรงงาน

     นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน เปิดเผยว่า ในปีนี้ คาดว่า จะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำระบบหุ่นยนต์เข้าไปปรับปรุงกระบวนการผลิต 600 ราย ในจำนวนนี้ สถาบันไทย-เยอรมันจะเข้าไป ช่วยเหลือ 310 ราย โดยได้รับงบประมาณจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 50 ล้านบาท ซึ่งสถาบันฯจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบ หุ่นยนต์ (เอสไอ) เข้าไปให้คำปรึกษากับเอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการ ใช้งบรายละ 1 แสนบาท

ในปีนี้จะนำร่อง 310 ราย แบ่งเป็น เอสเอ็มอี จากการคัดเลือกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) 100 ราย เอสเอ็มอีจาก พื้นที่ อีอีซี 40 ราย เอสเอ็มอีจากทั่วประเทศ 70 รายและเอสเอ็มอีเกษตรแปรรูป 100 ราย โดยเอสไอที่เข้าไปให้คำปรึกษาจะมาจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) ที่ประกอบด้วย 10 หน่วยงาน จากสถาบัน และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม โดยในปัจจุบันหุ่นยนต์แขนกลในโรงงานได้มีราคาที่ถูกลงมาก ซึ่งหุ่นยนต์แขนกลที่ไทย ผลิตจะมีราคาประมาณ 4.5 แสนบาท และถ้ารวมกับค่าซอฟต์แวร์และติดตั้งระบบต่างๆ ก็จะมีต้นทุนรายละประมาณ 1 ล้านบาท  โดย หุ่นยนต์ 1 ตัว จะทดแทนแรงงานได้ 3-10 คน  ซึ่งจะคืนทุนได้ภายใน 1 ปี ส่วนในเรื่องการ สนับสนุนด้านการเงินธนาคารออมสินได้จัดตั้ง กองทุน 2 พันล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี  ให้การสนับสนุนเอสเอ็มอีในการลงทุนนำ หุ่นยนต์มาปรับปรุงระบบการผลิต สำหรับในปี 2562 สถาบันฯมีแผนที่จะของบสนับสนุนจากภาครัฐ 300 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือเอสเอ็มอี 1 พันราย ใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการผลิตและร่วมกับ ส.อ.ท. ในการพัฒนาบุคลากรจัดทำแพลตฟอร์มในการวิจัยพัฒนาและสร้างโรงงานอัจฉริยะต้นแบบ โดยในปีหน้า

นอกจากเอสเอ็มอีที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน 1 พันราย จะมีเอสเอ็มอีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอีกประมาณ 2-3 พันราย จะปรับใช้หุ่นยนต์ ทำให้คาดว่าจะมีเอสเอ็มอีนำหุ่นยนต์มาใช้ 3-4 พันราย ซึ่งสถาบันไทย-เยอรมัน คาดว่าภายใน ปี 2561 -2563 จะมีเอสเอ็มอีนำหุ่นยนต์มาใช้ ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย และตั้งเป้าหมายจะสร้างบุคลากรด้านการวางระบบหุ่นยนต์ไม่ต่ำกว่า 1.4 พันราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 200 ราย