โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

แรงใจเต็มเปี่ยมของข้าราชการช่างเครื่องจักรกล “ศรีสกุล คงเนียม”

คงจะไม่เกินไปนักถ้าจะกล่าวว่า ปัจจัยด้านบุคลากรที่มากด้วย ความสามารถและการมีเครื่องจักรกลที่มีศักยภาพ 2 สิ่งนี้เสมือนเป็น จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของกันและกันที่คอยขับเคลื่อนงานชลประทาน ให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งนี้ยังนำพาให้เราได้มารู้จักกับ “นายศรีสกุล คงเนียม” ช่างเครื่องจักรกล ช 4 บุคคลชลประทาน ผู้ที่เป็นเบื้องหลังงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลชลประทานมาตลอด เกือบ 4 ทศวรรษ ช่างเครื่อง ซึมซับจากครอบครัว ความรู้ ติดตัวมาสู่อาชีพ นายศรีสกุลเล่าว่า ตนเป็นชาวจังหวัด พิษณุโลก ในวัยเด็กนั้นมักจะติดสอย ห้อยตามคุณพ่อซึ่งมีอาชีพเป็นช่างเชื่อม และคุณอาที่ประกอบอาชีพเป็นช่างยนต์ ไปทำงานด้วยเป็นประจำบุคคล 2 ท่านนี้ จึงเสมือนเป็นไอดอลและแรงบันดาลใจ ที่ทำให้เขาได้ซึมซับงานเครื่องยนต์จนเกิด เป็นความสนใจที่จะเรียนรู้อย่างจริงจัง กระทั่งเวลาต่อมาเมื่อครั้งที่ได้โอกาส ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นายศรีสกุลจึงเลือกเรียนในสาขา วิชาช่างยนต์ ที่วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก   หลังจากศึกษาจบระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) นายศรีสกุลเริ่มต้นการทำงาน ในสังกัดสำนักเครื่องจักรกล จังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ฝ่ายรถขุดที่ 1 ทำหน้าที่ขับรถขุดชนิดบุ้งกี๋ลาก (พ.ศ. 2524- 2532) เป็นพนักงานขับรถแบคโฮขนาด บุ้งกี๋ 3/4 ลูกบาศก์หลา ที่โครงการ พัฒนาดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัด เชียงราย (พ.ศ. 2533) ปฏิบัติงานที่โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สอง อำเภอสอง จั งหวั ดแพร่ (พ.ศ. 2534-2538) จากนั้ นได้สอบบรรจุเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่ง ช่างเครื่องจักรกล ชั้น 1 (พ.ศ. 2539) และเป็นพนักงานขับรถแบคโฮปฏิบัติงาน ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2543-2556) ตามลำดับ ช่างเครื่อง นายศรีสกุล อธิบายว่า การขับรถ แบคโฮซึ่งเป็นรถที่มีขนาดใหญ่นั้นไม่ยาก แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนและสั่งสม ประสบการณ์ เพื่อให้เกิดความชำนาญ ในการคอนโทรลเครื่องจักร รวมทั้งต้อง รู้จักครูพักลักจำจากคนที่เก่งกว่าและ นำมาปรับปรุงพัฒนาตนเอง โดยแต่ละคนนั้น ก็จะมีเทคนิคในการขับรถแบคโฮแตกต่าง กัน แต่มีเป้าหมายที่เหมือนกันคือ งานต้องเสร็จอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ และมีคุณภาพ ช่างเครื่อง   “การทำงานของผมที่ผ่านมา เป็นการ ทำงานออกภาคสนามในเขตพื้นที่ ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขุด ลอกคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ งาน ก่อสร้างทั้งในและนอกเขตชลประทาน งานเร่งด่วนกรณีเกิดภัยธรรมชาติ และ งานโครงการพระราชดำริ ตามที่ผู้บังคับ บัญชามอบหมายให้ลงพื้นที่ โดยมีเพื่อน คู่ใจเป็นรถแบคโฮ” ช่างเครื่อง บุ้งกี๋ร้าว บูมหัก เร่งดูแลให้อยู่ใน สภาพพร้อมใช้งาน หลังจากทำงานภาคสนามมาหลายปี ตอนนี้นายศรีสกุลได้ผันตัวมาอยู่เบื้องหลัง ตำแหน่งช่างเครื่องจักรกล ช 4 หัวหน้า งานซ่อมบำรุงที่ 1 ฝ่ายเครื่องจักรกล รถขุดที่ 2 ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 สำนักเครื่องจักรกล จังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน) ถึงแม้จะอยู่ในโรงซ่อมแต่ก็มีงานไม่น้อยไปกว่าออก ภาคสนาม เพราะต้องคอยซัพพอร์ตทีม ที่ออกไปปฏิบัติงาน ด้วยการดูแลซ่อมแซม ปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ ของ รถขุด รถแบคโฮ เพราะรถเหล่านี้ต้องทำงานหนัก มีความเสียหายเกิดขึ้น ทุกวัน เช่น บุ้งกี๋ร้าว บูมหักเครื่องยนต์ เกิดการรั่วซึม จึงต้องดูแลซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาไม่ใช่ จอดทิ้งไว้เฉย ๆ “เคยอยู่ภาคสนามมาก่อนเข้าใจว่า เวลาที่รถเสียขณะที่อยู่หน้างานนั้น ทั้งเสียงาน เสียเวลา เพราะฉะนั้นผมจะช้า ไม่ได้ รถเสียต้องรีบซ่อม ต้องหาอะไหล่ มาเปลี่ยน ต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ให้เร็วที่สุด” ช่างเครื่อง คิดค้นนวัตกรรมผลงานดีเด่น บุ้งกี๋ตักวัชพืช และ Boom Backhoe พับเก็บได้ เดิมทีในการตักวัชพืชหรือผักตบชวา จะใช้บุ้งกี๋รถขุด ซึ่งการใช้งานทั่วไป จะเป็นบุ้งกี๋แบบตักดิน ถ้านำไปตักวัชพืช หรือผักตบชวา จะทำให้ไม่สามารถตัก วัชพืชได้เป็นจำนวนมากและยากต่อการ ปฏิบัติงาน จึงได้คิดค้นและประดิษฐ์ บุ้งกี๋ตักวัชพืชและผักตบชวาไว้เพื่องาน กำจัดวัชพืชโดยเฉพาะ ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ จะมีทั้งความแข็งแรงสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเปิดหน้าดิน ทำทาง และยังสามารถค้ำยันสำหรับ ขึ้น-ลง รถเทรลเลอร์ ในขณะขนย้ายได้อีกด้วย นอกจากนี้นายศรีสกุลยังได้ดัดแปลง Boom Backhoe ยี่ห้อ Kobelko K 909 A บูมยาว จำนวน 8 คัน ที่เดิม ก่อนการดัดแปลงนั้น ไม่สามารถพับบูม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถแบคโฮ มีลักษณะคล้ายกับแขนของคน เก็บไว้ที่ หางรถเทรลเลอร์ได้ในขณะขนย้าย ต้องมีคนคอยควบคุมอยู่บนรถขุดในขณะ ขนย้ายตลอดเวลา และในขณะขนย้าย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้ถนนได้ โดยหลังจากดัดแปลงเสร็จจึงทำให้สามารถ พับเก็บบูมไว้ที่หางรถเทรลเลอร์ได้ในขณะขนย้าย ไม่ต้องมีผู้ควบคุมขนย้าย และมีความปลอดภัยมากขึ้น ช่างเครื่อง หยาดเหงื่อ ความภูมิใจ และ รางวัล จากความทุ่มเทในการทำงานไม่ว่า จะเป็นงานภาคสนาม ลงทั้งแรงกายและ แรงใจเพื่อทุ่มเทลงไปให้งานที่รับผิดชอบ นั้นบรรลุเป้าหมาย แม้ปัจจุบันจะไม่ได้ลงพื้นที่ ปฏิบัติภาคสนามเหมือนเดิมแต่นายศรีสกุลก็นับเป็นกองสนับสนุน ที่แข็งแกร่งคอยซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุง รักษาเครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์ด้านเครื่องจักรกลให้พร้อมใช้งาน อยู่ เสมอหยาดเหงื่อที่ทุ่ มเทหยดลงดินนั้น ไม่เคยสูญเปล่า เพราะวันนี้ได้ออกดอก ออกผลไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา กับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2561 ที่นายศรีสกุล คงเนียมได้รับ “ตลอดระยะเวลาการทำงาน 37 ปี รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่นคือรางวัล แรกของชีวิต ผมภูมิใจมาก ๆ กับรางวัลนี้ ไม่เคยคาดหวังมาก่อน ต้องขอขอบคุณ ที่พิจารณาให้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เป้าหมายนับจากนี้คือ การถ่ายทอด ความรู้ความสามารถที่มีแก่รุ่นน้อง เพื่อนำกลับไปพัฒนางานที่ตนเองรับผิดชอบ ให้สำเร็จ เพราะในอนาคตผมและ เพื่อนๆ ร่วมรุ่น ก็จะต้องปลดเกษียณ น้อง ๆ ชลประทาน จึงถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญชิ้นใหม่ ที่จะมาพัฒนากรมชลประทาน ให้ก้าวหน้าต่อไป”