กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร – ปริมณฑล โดยตรวจพบว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 40 – 89 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกินมาตรฐานที่บริเวณ
ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม
ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ
ต.ตลาด อ.พระประแดง สมุทรปราการ
ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปราการ
ต.บางเสาธงอ.บางเสาธง สมุทรปราการ
ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร
ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง
ส่วนฝุ่นละออง ขนาด PM10 ตรวจพบค่าระหว่าง 57 – 130 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในช่วงบ่ายของวันที่ 25 มกราคมนี้ อากาศยังลอยตัวได้ดี มีลมพัดแรงขึ้น ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองมีโอกาสเจือจางลงได้
ขณะเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษ มีมติจากคณะกรรมการให้แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นใน 4 ระดับ ตามความรุนแรงของสถานการณ์ คือ 1. ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าน้อยกว่า 50 มคก/ลบ.ม. ส่วนราชการทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องจะปฏิบัติภารกิจในสภาวะปกติ 2.ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 50 – 75 มคก/ลบ.ม. หน่วยงานทุกหน่วยต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ ให้เข้มงวดขึ้น
โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัด เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในพื้นที่ของตนเอง 3.นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 75 – 100 มคก/ลบ.ม. กก.คพ. จะจัดการประชุมเพื่อหามาตรการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการในการควบคุมแหล่งมลพิษ โดยเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในการที่จะใช้ พรบ.การสาธารณสุข และ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือกฎหมายอื่น ๆ
เพื่อแก้ไขควบคุมพื้นที่หรือควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ และ 4.ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกิน 100 มคก./ลบ.ม. หากมาตรการระดับ 3 ยังไม่ดีขึ้น จะมีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ ในการพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยจะนำเสนอเพื่อกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในการสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้ ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองPM2.5 และจัดส่งให้ กทม. ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์กรณีสถานการณ์อยู่ในระดับ 2 และ 3 เพื่อใช้ในการปฏิบัติการต่อไปโดยมี คพ.ร่วมสนับสนุน