ธ.ก.ส. วางยุทธศาสตร์ ปี 62 มุ่งสู่องค์กรสีเขียว Go Green สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรยั่งยืนเป็นทางเลือกของการปฏิรูปภาคการเกษตร ด้วยการยกระดับการผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของตลาดและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค พร้อมขยายช่องทางการตลาด ให้กับเกษตรกร
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.พร้อมขับเคลื่อนโครงการอาหารปลอดภัย จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เริ่มจากการสร้างจิตสำนึกให้กับเกษตรกร ด้วยโครงการ สร้างความเข้มแข็งระดับครัวเรือน (โครงการ 459 ) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาที่ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับ ใช้มีความหมายว่า เดินออก จากบ้าน 4 - 5 ก้าว ก็มีอาหารปลอดภัยไว้กิน
ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเมื่อมีผลผลิตเหลือบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ โครงการนี้ ธ.ก.ส.เริ่มไปแล้ว ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 27 ชุมชน ซึ่งบางชุมชน สามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายได้ที่ห้าง Modern Trade ได้ นอกจากนี้เพื่อให้ เกษตรกรตระหนักถึงการผลิตอาหารที่ปลอดภัยที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ธ.ก.ส. มีแผนร่วมกับ อ.ส.ม. เพื่อ ตรวจสารพิษในร่างกายของเกษตรกรและตรวจสาร ตกค้างในผลผลิต อีกด้วย
นอกจากนั้น ธ.ก.ส.จะต่อยอดชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ต้องการผลิต อาหารปลอดภัย จำนวน 315 ชุมชน ที่ ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุนให้มีการผลิตที่ ได้มาตรฐานต่างๆ ได้แก่ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เป้าหมาย เกษตรกร 2,000 ราย 200 ชุมชน มาตรฐานการ ตรวจรับรองคุณภาพแบบมีส่วน ร่วมของชุมชน(PGS) เป้าหมาย เกษตรกร 1,500 ราย 150 ชุมชน และมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) เป้าหมายเกษตรกร 500 ราย 50 ชุมชน
รวมถึงสนับสนุน Smart Farmer ทายาทเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มและสร้าง เครือข่ายผู้ผลิตอาหาร ปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ โดยประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น โดยมีแผนพัฒนาให้สหกรณ์การเกษตรเป็น คณะผู้ตรวจประเมิน และมีความพร้อมสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสร้างการ รับรู้และความมั่นใจ ให้กับเครือข่ายผู้บริโภค
โดยโครงการเกษตรหรืออาหารปลอดภัยนี้ จะขับเคลื่อนผ่านกระบวนการ ของ สหกรณ์การเกษตร เพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) สหกรณ์การเกษตร (สกก.) และ บริษัทไทยธุรกิจ เกษตร จำกัด (TABCO) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการรวบรวมสินค้า การแปร รูปสร้างมูลค่าเพิ่มและการกระจายสินค้าจาก เกษตรกรผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค และธ.ก.ส. จะสนับสนุนสินเชื่อให้สหกรณ์และกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน รวบรวม แปรรูปผลผลิต เช่น สร้างโรงคัดตัดแต่งผลผลิต จัดซื้อ ห้องเย็น และรถขนส่ง
เป็นต้น
นายอภิรมย์ กล่าวต่อว่า Go Green เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ ธ.ก.ส.จะดำเนิน งานควบคู่กับแนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตรไทย คือ ปรับการผลิตโดยใช้เทค โนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อลดต้นทุน พพ เปลี่ยนการผลิตให้ สอดคล้อง กับสภาพพื้นที่ และให้ตรงกับความ ต้องการของตลาด พัฒนาสหกรณ์การ เกษตร และผู้ประกอบการ SMAEs เป็นหัวขบวนนำการ เปลี่ยนแปลงโดยสนับสนุน ให้มี การผลิตการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่มูลค่าสินค้าเกษตร
“การก้าวสู่ Go Green เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมที่ ยั่งยืน ตอบโจทย์สำคัญในเรื่องของการดูแลสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของ ประเทศ ซึ่ง ธ.ก.ส.พร้อมสนับสนุนแหล่งเงินทุนและความรู้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อให้เกษตรกรมีภูมิคุ้มกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนมีความ เข้มแข็งและมีรายได้เพิ่มจากผลผลิตที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานรองรับ ส่งผลถึงความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ของภาคเกษตรไทย”