โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

5 หลักการ เปลี่ยน “มนุษย์เงินเดือน” ให้เป็น “เจ้าของธุรกิจ”

“มนุษย์ เงินเดือน” หลายๆคนมีความฝันว่าสักวันหนึ่งฉันจะเป็น “เจ้าของธุรกิจ” เพราะในปัจจุบันมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงพอกับรายได้ จึงเริ่มมองหาอาชีพเสริมหรือต้องการมีธุรกิจเป็นของตนเอง บางคนอยากเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะ เบื่องาน เบื่อเพื่อนร่วมงาน หรือเบื่อเจ้านาย

แต่ก่อนที่จะลาออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน วันนี้เรามีเช็คลิสต์ 5 ข้อ เพื่อให้คุณสำรวจตัวเองก่อนเป็นเจ้าของกิจการ สำหรับมนุษย์เงินเดือนมาฝากกันค่ะ

1.วางแผนธุรกิจของคุณไว้อย่างรอบคอบแล้วหรือยัง

ไม่ใช่เพียงแค่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะอยากเป็นอิสระ เบื่อเจ้านาย เบื่อเพื่อนร่วมงาน แล้วลาออกมาทำธุรกิจโดยไม่ได้วางแผน ต้องศึกษาธุรกิจที่จะทำอย่างถี่ถ้วน เพราะเมื่อเป็นเจ้าของธุรกิจต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งหมด

2.เงินทุนมีเพียงพอ หรือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน

คุณควรมีเงินทุนสำรองเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว อย่างน้อย 6 เดือน และเงินสำรองค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจอย่าง 1 ปี หากต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน ขออย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ เพราะการทำธุรกิจมีความเสี่ยงสูงกว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือน

3.พร้อมทำงานมากกว่า 1 หน้าที่

หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนคุณเพียงแค่ทำหน้าที่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ทำงานที่ได้รับมอบให้สำเร็จ แต่เมื่อคุณเป็นเจ้าของกิจการคุณต้องทำทุกหน้าที่ในธุรกิจของคุณให้ได้

4.รับได้ไหมถ้าไม่มีวันหยุด

หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนคุณมีวันหยุด อยากลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน คุณมีสิทธิ์หยุดงานได้ รายได้เท่าเดิม แต่เมื่อคุณเป็นเจ้าของธุรกิจคุณจะต้องทำงาน 7 วัน ไม่มีวันหยุด เพราะหากคุณหยุดรายได้ของธุรกิจคุณก็อาจจะหายไป มิหนำซ้ำอาจะมีรายจ่ายเพิ่มอีกด้วย

5.รายได้ไม่แน่นอน

หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนคุณมีรายได้แน่นอนทุกเดือน แต่หากเป็นเจ้าของธุรกิจ รายได้ของคุณอาจจะดีบ้างไม่ดีบ้าง มีช่วงรุ่งและมีช่วงร่วง (ถ้าจับธุรกิจดี มีโอกาสรวยโดยไม่รู้ตัว)

การเป็นเจ้าของธุรกิจ มีความรับผิดชอบติดมืออยู่มาก ต้องรับผิดชอบดูแลลูกน้อง ดูแลลูกค้า ดูแลธุรกิจ หากลูกน้องทำธุรกิจเสียหาย เจ้าของธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับคนที่รักความสบาย มีชีวิตที่สบายวันนี้ในบทบาทของลูกจ้างต้องถามตัวเองว่า หากคุณต้องมาเป็นเจ้าของธุรกิจเวลาส่วนตัวจะต้องหายไปโอเคไหม เสาร์ อาทิตย์ต้องทำงาน โอเคไหม แล้วก็สามารถรับผิดชอบในทุกมิติของธุรกิจได้ไหม ลองถามตัวเองก่อนถ้าตอบได้ก็เริ่มลงมือกันได้เลย