โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารจัดการน้ำ

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้น้อมนำหลักการทรงงานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติ ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดการแสดงความคิดเห็น ร่วมกันคิดและแกไข้ปัญหาเรื่อง “น้ำ”

รวมถึงการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยจัดตั้งหน่วยงาน ภายในชื่อว่า สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ปัจจุบัน คือ กองส่งเสริมการมีส่วนร่มมของประชาชน)

กรมชลประทานได้ส่งเสริมให้ชุมชนรวมตัวกันและจัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานขึ้น เป็นองค์กรของเกษตรกร ผู้ใช้น้ำชลประทานในรูปแบบของคณะกรรมการที่คัดเลือก มาจากสมาชิกผู้ใช้น้ำที่อยู่ในระบบส่งน้ำคลองชลประทานสายเดียวกัน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำและร่วมมือกันจัดสรรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รังสรรค์ประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย มีการส่งน้ำอย่างทั่วถึงพอเพียงต่อความต้องการ

พื้นที่ส่งน้ำเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในพื้นที่ในอดีตที่เคยมีปัญหาเกษตรกรแย่งน้ำชลประทาน แม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือแต่ปัญหาก็ยังปรากฏอยู่ต่อเนื่องกรมชลประทาน จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการน้ำชลประทานในพื้นที่ใหม่

โดยการให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ เริ่มต้นจากการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำพื้นฐานและพัฒนาเป็นกลุ่มบริหารการใช้น้ำทำให้ปัญหาต่าง ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดี เพราะในยามที่น้ำขาดแคลน เกษตรกรจะสนทนากัน รับฟังถึงปัญหาจนเกิดความเข้าใจและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันจนสำเร็จ

ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ส่งน้ำของเขื่อนกระเสียวเท่านั้น ปัจจุบันในประเทศไทย มีกลุ่มผู้ใช้น้ำที่มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นจนสามารถจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC : Joint Management Committee for Irrigation) เพื่อเป็นองค์กรสูงสุดในการจัดสรร แบ่งปันน้ำ บำรุงรักษา กำหนดมาตรการควบคุมการใช้น้ำ ส่งเสริมการผลิต การตลาดและแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้กำหนดไว้ในพันธกิจและยุทธศาสตร์ของกรมชลประทาน