โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

เจาะ “ขุมทอง” ตลาด Blue Ocean แถบ “แอฟริกา” โอกาสเติบโตของ เอสเอ็มอี รายเล็ก

ในโลกธุรกิจที่มีแต่การแข่งขัน โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ตั้งแต่ระดับเล็กไปจนถึงระดับใหญ่ ซึ่งในเรื่องของการแข่งขันหลักๆ จะเป็นการส่งออก จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมักจะส่งสินค้าส่งออกไปยังประเทศเดิมๆ จนกลายเป็นตลาด “ทะเลเดือด” หรือ “Red Ocean” จะดีกว่าไหมหากคุณลองหันมามองตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มภาคการส่งออกที่ดี อย่างทวีปแอฟริกา ซึ่งมีหลายประเทศที่ยังคงต้องการสินค้าไทยและรอให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำสินค้าไปขายในประเทศของตน และหากศึกษาดีๆ จะพบว่าตลาดทวีปแถบนี้มีความน่าสนใจอย่างมาก

หากเอ่ยถึงทวีปทางแถบแอฟริกา ซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด มีจำนวนประชากรกว่า 1,100 ล้านคน (พ.ศ. 2556) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก และทวีปนี้ยังถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซ และทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ

คุณปรีชา ตรีสุวรรณ ประธานบริหาร Thailand Tanzania Business Center กล่าวถึงโอกาสที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะนำสินค้าเข้าไปเปิดตลาดในประเทศแถบแอฟริกา ถึงพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าของผู้คนในแถบแอฟริกาว่า แนวโน้มและปัญหาในพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคชาวแอฟริกัน รวมถึงรูปแบบการซื้อสินค้าของผู้บริโภคชาวแอฟริกันจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม

จากผลการรวบรวมข้อมูลของตลาดประเทศ ไนจีเรีย เคนยา และ แอฟริกาใต้ ด้วยการพูดคุยสนทนา และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อสร้างผลการวิจัยที่เป็นตัวแทนภูมิภาคต่างๆของแอฟริกา พบว่าผู้ซื้อชาวแอฟริกันส่วนใหญ่มักจะซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อใช้ในครัวเรือน การต่อรองราคาถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปของผู้ซื้อในแถบนี้ ซึ่งทางฝั่งประเทศไทยเองก็มีการเจรจาต่อรองราคาไม่ผิดแผกจากกัน

ดังนั้น การตั้งราคา การจัดจำหน่ายสินค้า การจัดหารตัวแทนขาย ทั้งค้าปลีก ค้าส่ง ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ สินค้านั้นจะต้องตอบโจทย์ของผู้บริโภค ให้ได้ และสินค้าจะต้องมีคุณภาพ และแตกต่างจากสินค้าของรายอื่น หากเหมือน กันและราคาเดียวกัน อาจจะยากในการเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาด ดังนั้น ส่วนตัวจึงขอเรียนย้ำว่า สินค้าจะต้องแตกต่าง คุณภาพต้องดี ในราคาที่สามารถรับได้ มิใช่ราคาถูกอย่างเดียว อาจจะแพงกว่าแต่คุณภาพดีและง่ายต่อการบำรุงรักษา อีกทั้งยังง่ายต่อการใช้ จึงขอย้ำว่าการที่จะเข้าบุกตลาดแอฟริกาได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องเดินทางไปสำรวจตลาด และพบปะกับผู้ประกอบการทั้งค้าส่ง-ค้าปลีก หรือตัวแทนการค้า และผู้ร่วมธุรกิจในแอฟริกาด้วย
ต้องไปทำความรู้จักผู้บริโภคชาวแอฟริกาที่มีความแตกต่างกัน (GETTING TO KNOW THE DIVERSE AFRICAN CONSUMER)

จากจำนวนพันกว่าล้านคนของยอดจำนวนผู้บริโภคนั้น ถือว่าแอฟริกาเป็น ทวีปที่มีอิทธิพลและศักยภาพในการบริโภคที่สูงขึ้นตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น

1.ประเทศแทนซาเนีย (Tanzania) ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่งของประเทศนี้ รวมถึงจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นทำให้นักธุรกิจทั่วโลก ได้รับการมอบโอกาสที่หลากหลายทั้งแก่ ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก ที่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค

2.ประเทศโมซัมบิก (Mozambique) เป็นประเทศที่มีประชากรมากกว่า 23 ล้านคนโดย 55 เปอร์เซ็นต์ อายุต่ำ กว่า 20 ปี และมีการเติบโตของจีดีพีสูง จึงถือว่า ตลาดโมซัมบิกมีศักยภาพที่สำคัญ เพราะมีจำนวนคนรุ่นใหม่ที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นในสังคม ส่งผลถึงการบริโภคทุกสิ่งอย่างเพิ่มมากขึ้น และต้องมีความทันสมัยขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึง สินค้าที่ตอบโจทย์ แม้แต่อาจารย์ในแต่ล่ะมหาวิทยาลัยยังมีการ พัฒนาทั้งด้านการศึกษาและวัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3.ประเทศยูกันดา (Uganda) จากอัตราการเกิดของจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นของประเทศ ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ส่งผลให้ตลาดแห่งนี้เป็นที่ดึงดูดและน่าสนใจแก่นักธุรกิจจากต่างแดน ทำให้เกิดความสนใจตลาดในแถบแอฟริกา และถือเป็นอีกประเทศหนึ่งซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศเกิดใหม่ทั่ว ๆ ไปนับว่ายูกันดาเป็นประเทศที่มีรายได้มากกว่าอีกหลายประเทศเลยทีเดียว

4.ประเทศแซมเบีย (Zambia) การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จในประเทศนี้ ผู้ประกอบการจะต้องตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคก่อน โดยผลิตภัณฑ์จะต้องพูดถึง "ความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว" และสร้างความสมดุลให้กับองค์ประกอบของพฤติกรรมที่ทันสมัย ผมจึงได้กล่าวอยู่เสมอว่า Health Hope Happiness น่าจะเป็น Product Character ที่ผลิตมาเพื่อตอบโจทย์ ให้แก่ผู้บริโภค

และนี่คือข้อมูลพอสังเขปของบางประเทศที่นำมานำเสนอให้ท่าน เกี่ยวกับพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าของผู้คนในแอฟริกา (Characteristics of the African Buyer’s Purchase Behavior) สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาให้รู้จักกันและกัน หรือรู้เขารู้เราอย่างถ่องแท้ แล้วนำมาปรับปรุงให้ตรงกับโจทย์ ของผู้บริโภค ในแอฟริกา ลักษณะสินค้า ในแอฟริกานั้นมีความแตกต่างจากยุโรปแน่นอนครับ จึงจำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ แน่นอนว่าตลาดนั้นเปิดกว้างให้กับ ผู้ประกอบการเสมอๆ อินเดีย และ จีน รวมทั้งผู้ประกอบการไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่าน ว่าท่านจะเป็น Every Body หรือ ท่านจะเป็น Some Body ในแอฟริกา เลือกเอาครับ