Airbnb แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวระดับโลก เดินหน้าเสริมแกร่งโฮมสเตย์ท้องถิ่นและชุมชนทั่วประเทศ ผ่านความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และธนาคารออมสิน หวังกระตุ้นการเติบโตของโฮมสเตย์อย่างยั่งยืน ดึงนักเดินทางสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและจุดหมายปลายทางแห่งใหม่
Airbnb ได้มีความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ว่าด้วยเรื่องส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการการท่องเที่ยวท้องถิ่นตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ ซึ่งได้ร่วมกันฝึกอบรมผู้ประกอบการโฮมสเตย์ที่ดำเนินธุรกิจในปัจจุบันสามารถเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์มระดับโลกของ Airbnb เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ท้องถิ่น
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความร่วมมือส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการการท่องเที่ยวท้องถิ่นกับ Airbnb ว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ได้ช่วยเชื่อมโยงโฮมสเตย์ ท้องถิ่นหลายร้อยแห่งให้กับนักเดินทางทั่วโลกและสร้างรายได้เสริมแก่ผู้ประกอบการให้เช่าที่พักในชุมชนท้องถิ่น ทั่วประเทศ เรามุ่งมั่นในการสร้างระบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อช่วยเพิ่มทักษะและยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตคนไทยในท้องถิ่น โดยการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมีความมั่นคงในอาชีพอย่างต่อเนื่อง”
ในส่วนความร่วมมือ ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ Airbnb นั้น ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดย Airbnb ได้จัดการฝึกอบรมด้านการให้บริการและการให้เช่าที่พัก รวมถึงธนาคารออมสิน ได้มีการสนับสนุนด้านสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยแบบยืดหยุ่นสำหรับเจ้าของที่ต้องการปรับปรุงโฮมสเตย์
ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับ Airbnb เป็นได้สร้างระบบ การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนขึ้นมาใหม่ โดยแต่ละฝ่ายจะใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กร เพื่อสร้างแนวทาง เสริมแกร่งโฮมสเตย์ท้องถิ่นทั่วประเทศได้อย่างยั่งยืน ด้านธนาคารออมสินมีการสนับสนุนด้านเงินทุนและการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการให้เช่าที่พักในท้องถิ่นสามารถเติบโตได้ในระยะยาว รวมถึงบริเวณใกล้เคียง ได้ตามลำดับ เราหวังว่า ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่เจ้าของโฮมสเตย์ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
และจะช่วยมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดกับกับนักเดินทางจากทั่วโลก
นางมิช โกห์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Airbnb เปิดเผยว่า ความ ร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และธนาคารออมสิน เป็นการสร้างประโยชน์เชิงบวกสู่การท่องเที่ยว ท้องถิ่นไทย รวมถึงช่วยประชาสัมพันธ์จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ Airbnb มีความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการสร้างเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของไทยเพื่อสร้างสินค้าและการบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันโฮมสเตย์ท้องถิ่นกว่า 740 แห่ง ที่ได้รับการสนับสนุนจากความร่วมมือนี้ได้อยู่บนแพลตฟอร์ม Airbnb ซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวคนไทยเข้ากับเครือข่ายนักเดินทางของ Airbnb ที่มีกว่า 500 ล้านคน ทั่วโลก
โดยโฮมสเตย์ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Airbnb ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ สระบุรี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และระยองซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจุดหมายปลายทางใหม่ๆ และการเติบโตของ โฮมสเตย์ในจังหวัดเหล่านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและให้บริการทั่วประเทศ และกระจายรายได้นอกแหล่งท่องเที่ยวเมืองใหญ่ในรูปแบบเดิม
ขณะที่ข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระบุว่า โฮมสเตย์ในโครงการฯ กว่า 25% ประกาศให้เช่าบ้านพักบนแพลตฟอร์ม Airbnb เพียงแห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น Airbnb ยังได้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเกี่ยวกับการให้บริการ มาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตาม รวมถึงมีทักษะความรู้ทางดิจิทัลเพื่อช่วยถ่ายทอดให้คนในท้องถิ่นจัดการให้เช่าที่พักบน แพลตฟอร์มได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้นความร่วมมือกับธนาคารออมสินได้ตั้งเป้าหมายคือ การเพิ่มจำนวนโฮมสเตย์ ท้องถิ่นใน 4 จังหวัดบนแพลตฟอร์มของ Airbnb ให้มากขึ้น ได้แก่ กรุงเทพฯ, บุรีรัมย์, เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช
สำหรับกรณีศึกษาผู้ที่ร่วมโครงการและประสบความสำเร็จ อาทิ นายวรรธนนท์ หาเพิ่มพูล เจ้าของที่พักโฮมสเตย์ Airbnb ในย่านลาดกระบัง กรุงเทพฯ ซึ่งเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการร่วมมือของธนาคารออมสินและ Airbnb นายวรรธนนท์เป็นนักออกแบบได้ทำการปรับปรุงบ้านเก่าของคุณยาย ให้เป็นห้องพักให้เช่าบนแพลตฟอร์ม Airbnb เมื่อปี 2560 และจากการเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้สามารถขยายธุรกิจโฮมสเตย์ด้วยการเพิ่มเติมร้านกาแฟในบริเวณที่พัก เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้ามากขึ้น นอกจากนั้น ยังได้แรงบันดาลใจจากเจ้าของที่พักคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มในการดึงชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนรองรับการท่องเที่ยว จึงได้ร่วมกับชุมชนเขตลาดกระบัง ร่วมกันก่อตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล เพื่อลดขยะรวมถึงการริเริ่มโครงการปลูกต้นไม้ริมคลอง เพื่อให้ชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“การได้สานสัมพันธ์นักเดินทางกับชุมชนท้องถิ่นได้มากเท่าไร ก็จะช่วยให้นักเดินทางสัมผัสวิถีแห่งไทยได้ถึงแก่นแท้ มากที่สุด” นายวรรธนนท์กล่าวทิ้งท้าย