ในช่วงวิกฤตแบบนี้หลายคนหันมาหาอาชีพเสริมทำกัน อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจอย่าง ขายอาหาร ก็สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี แต่หลายคนคงอยากรู้ว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่ ได้กำไรเท่าไหร่ วันนี้ ชี้ช่องรวย มีสูตรการคำนวณต้นทุนมาเสนอให้ สมารถใช้ได้ตั้งแต่ร้านขนาดเล็กไปจนถึงร้านขนาดใหญ่ แต่างต่างกันที่ยอดขายหรือเงินลงทุนที่ตั้งไว้เท่านั้น
คิดต้นทุนร้านอาหารตามสั่ง
จำไวอย่างแรกเลยว่าทุกอย่างในการทำธุรกิจต้องเป็น 100% ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากร้านอาหารตามสั่ง เริ่มจากยอดขาย 100 เปอร์เซ้นต์ แบ่งออกเป็นสัดส่วนดังนี้
1.ต้นทุนอาหาร (COST OF GOOD) ควรตั้งไว้อยู่ที่ 35%
โดยจะใช้การคำนวณสูตรของอาหารจานนั้นๆ ตัวอย่าง ข้าวผัดกระเพราใน 1 จาน ใช้วัตถุดิบกี่ชนิดคิดออกมาเป็นต้นทุนต่อ 1 จาน เป็นเงินเท่าไหร่ (ใน 1 จาน ต้นทุนไม่ควรเกิน 35% ของราคาขาย)
ตัวอย่าง คำนวณต้นทุนสูตรอาหาร (กระเพรา)
- ข้าว 100 กรัม = 5 บาท
- หมู 30 กรัม = 7.5 บาท
- ใบกระเพรา = 2 บาท
- เครื่องปรุงรส = 3 บาท
รวมต้นทุน = 17.5 บาท
ในภาพรวมหมายความว่าถ้าเราขายข้าวผัดกระเพรา 1 วัน ได้เงิน 5,000 บาท ต้นทุนจะอยู่ที่ 1,750 บาท (วิธีนี้อาจจะใช้เวลาหาต้นทุนต่อจานยากหน่อย แต่ถ้าหาได้แล้วจะทำให้เราเห็นตัวเลขของต้นทุนกำไรชัดขึ้น และธุรกิจจะโตอย่างต่อเนื่อง)
2.ต้นทุนแรงงาน (COST OF LABOL) ควรตั้งไว้อยู่ที่ 15%
ตัวอย่างหากเราขายได้วันละ 5,000 บาท x 20 วัน รวมเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ต้นทุนค่าแรงจะอยู่ที่ 15,000 บาท ซึ่งต้นทุนในที่นี้จะเป็นค่าแรงของเราเอง หรือจ้างพนักงานซัก 1 คนก็ได้
3.ค่าน้ำ ค่าไฟ ควรตั้งไว้อยู่ที่ 5%
4.ต้นทุนค่าเช่า (ถ้าจะต้องเช่าพื้นที่) ควรตั้งไว้อยู่ที่ 15%
5.ค่าอื่นๆ ควรตั้งไว้ 10%
ส่วนนี้ตั้งไว้เพื่อสำรองจ่ายอื่นๆ ตัวอย่างปัจจุบันมีการขายแบบ เดลิเวอรี่ เข้ามาซึ่งจะมีค้า ภาชนะต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ สามารถใช้เงินส่วนนี้ได้
สรุปต้นทุนขายอาหาร
เมนู กระเพรา จานละ 50 บาท
1 วัน ต้องขายได้ 100 จาน
50 x 100 = 5,000 บาท/วัน
ขาย 20 วัน 5,000 x 20 = 100,000 บาท
ต้นทุนทั้งหมด
- ต้นทุนอาหาร 35% = 35.000 บาท
- ต้นทุนแนงงาน 15% = 15,000 บาท
- ค่าน้ำ ค่าไฟ 5% = 5,000 บาท
- ต้นทุนค่าเช่า (ถ้าจะต้องเช่าพื้นที่) 15% = 15,000 บาท
- ค่าอื่นๆ 10% = 10,000 บาท
รวมต้นทุน 80,000 บาท กำไรอยู่ที่ 20,000 บาท
จากสูตรด้านบนนั้นเป็น เปอร์เซ้นต์ต้นทุนที่ทุกร้านอาหารไม่ว่าจะร้านเล็กหรือร้านใหญ่ควรจะต้องทำ เพื่อจะได้มองเห็นกรอบของต้นทุน และกำไรได้อย่างชัดเจน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วต้นทุนส่วนต่างๆ เราสามารถปรับลดได้หากใช้ไม่ถึงตามที่ตั้งไว้ และนั่นจะช่วยสร้างกำไรเพิ่มขึ้นอีกด้วย