โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

6 ความเชื่อผิดๆ ของการขายของออนไลน์

เมื่อพูดถึงการตลาดออนไลน์หลายคนคงเชื่อว่าใช้การตลาดบน Social media นั้นเป็นวิธีที่ง่ายและตอบโจทย์ในหลากหลายความต้องการ แต่การทำการตลาดออนไลน์นั้น ก็ไม่ได้ทำง่าย ๆ อย่างที่คุณคิด ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี เพราะถ้าหากศึกษาที่ไม่รอบด้านก็อาจจะทำให้คุณไปหลงเชื่อความเชื่อที่ผิดๆ 

ซึ่งอาจจะเป็นหลุมพรางทำให้คุณหลงทางและเสียเวลาได้ วันนี้ ชี้ช่องรวยจึงขอนำเสนอ 6 ความเชื่อผิดๆ ของการขายของออนไลน์ มาให้คุณผู้อ่านหรือคนที่กำลังขายของออนไลน์สังเกตุดูว่าตัวเองยังทำแบบนี้อยู่หรือไม่

1.ความเชื่อเรื่องจำนวน ไลค์ แชร์ ติดตาม ไม่ได้ทำให้ขายได้เสมอไป

คนจำนวนมากชอบบอกว่าโลกออนไลน์มีคนหมุนเวียนมากมาย ประเทศไทยมีคนใช้เฟซบุ๊กกว่า 20 ล้านบัญชี อินสตาแกรมอีกกว่า 1 ล้านบัญชี ฯลฯ โอกาสอยู่บนโลกออนไลน์ การหาเงินง่าย ๆ ก็อยู่บนโลกออนไลน์นั้นผิด! การเข้ามาสู่โลกออนไลน์โดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่รู้ว่าจะสื่อกับคนกลุ่มไหนถือเป็นเรื่องที่พลาดอย่างร้ายแรง

ลูกค้าทุกคนมีสมองและเหตุผลของตัวเอง ลองมองย้อนกลับไปที่พฤติกรรมของตัวเองดูว่า คุณซื้อเพราะอะไร นั่นหมายถึงเหตุผลมากมายที่คนจะตัดสินใจซื้อฉะนั้นการโฟกัสกลุ่มให้ชัดเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการมานั้งนับยอด ไลค์ แชร์ ติดตาม แสดงความคิดเห็น คอมเมนต์ ที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าคุณจะขายได้หรือไม่ได้

2.ความเชื่อที่ว่าให้ความสนใจกับการโฆษณา มากว่าสินค้าและแบรนด์ของตัวเอง

คนเข้าใจว่าเปิด facebook Page แล้วอัดโฆษณาเยอะ ๆ เดี๋ยวก็ขายได้ และเมื่อคนคิดและทำแบบนี้มากขึ้น ๆ ก็เข้าสู่สภาวะโฆษณาล้นจอจนลูกค้าเริ่มมึนและเบือนหน้าหนีเลื่อนผ่านแบบไม่ใยดี แต่สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือ Content marketing และ Personal branding สองสิ่งนี้เป็นเครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายให้เขาจดจำเราได้ ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้คนสะดุดตามากกว่าการทุ่มงบโฆษณาใน facebook 

จริงอยู่ที่ว่าการซื้อโฆษณาเพื่อทำให้คนเห็น แบรนด์ สินค้า และบริการของคุณมากๆ ในเวลาอันรวดเร็ว แต่อย่าลืมว่าแบรนด์เก่าแก่ของคู่แข่งก็โฆษณาได้เช่นกัน ดังนั้นการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ด้วย Content marketing และ Personal branding จะช่วยทำหน้าที่ตรงนี้ และการโฆษณาจะเป็นเครื่องมือในการ Broadcast ข้อความให้คนที่รู้จักคุณเห็นคุณทั่วถึงขึ้นและนานขึ้น

3.ความเชื่อที่ว่าบนโลกออนไลน์จะขายอะไรก็ได้

ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะขายได้ ในแง่ของแนวคิดในการหาสินค้ามาแก้ปัญหาให้ลูกค้าผ่านช่องทางใดช่องทางนึง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ ความต้องการของลูกค้าที่เป็นมุมมองของลูกค้าจริงๆ โดยใช่มุมมองจากผู้ขายแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งในความเป็นจริงสิ่งที่สำคัญกว่ามุมมองผู้ขายคือมุมมองจากลูกค้าต่างหาก

ดังนั้นเมื่อได้กลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อไป ลองนั่งเข้าไปในใจของลูกค้า สำรวจว่าการคิดอย่างลูกค้า คิดอย่างไร ตัดสินใจจากสิ่งไหน อะไรเป็นปัญหาของพวกเขาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาได้ สิ่งที่นักการตลาดต้องหาให้เจอคือ Pain Point (สิ่งที่ทำให้เขาทุกข์ทรมาน) และถ้าสินค้า/บริการของคุณ ช่วยลูกค้าแก้ปัญหาได้ มีโอกาสสูงที่เขาจะกลายเป็นลูกค้าของคุณในที่สุด

4.ความเชื่อที่ว่าขายของออนไลน์ไม่มีต้นทุน

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ที่ปลูกฝังกันมา "ขายของออนไลน์แค่โพส ๆ ก้อขายได้" อย่างที่บอกในข้อแรก ขายของออนไลน์ หรือมีหน้าร้านแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นักต้นทุนในการขายของทั่วไป มีอยุ่แค่ 3 รุปแบบ คือ "ต้นทุนเวลา" กับ "ต้นทุนเงิน" ก็ไม่ได้ต่างกับการขายออนไลน์ที่เปลี่ยนหน้าร้านแบบเดิมมาเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งก็มี "ต้นทุนเวลา" กับ "ต้นทุนเงิน" เหมือนกัน แถมยังต้องให้ความใส่ใจมากกว่า เพื่อให้ผู้คนจดจำและเข้าถึงสินค้า

5.ความเชื่อที่ว่าสินค้าของเราสามารถขายได้บนทุกแพลตฟอร์ม

ปัจจุบัน Social Media มีให้เลือกอยู่หลาย แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น (Facebook, Instagram, Twitter, Line เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบมีแนวทางการนำเสนอที่แตกต่างกัน ฉะนั้นสิ่งสำคัญ คือ การออกแบบตัว คอนเทนต์ ต่อหนึ่งสินค้าให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่จะใช้ นั่นหมายึงผู้ขายจะต้องรู้ถึงเส้นทางก่อนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เพื่อนำจุดต่าง ๆ สร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของเราให้ได้ ยกตัวอย่างเส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน facebook มีดังนี้

ลูกค้าเล่น Facebook > เห็นรูปสินค้าขึ้นแสดงบน Newsfeed > เกิดความสนใจ > คลิ๊กรูปภาพเพื่อดูข้อมูลสินค้า > ดูรีวิวสินค้าใน Fanpage > ค้นหารีวิวสินค้าผ่านทาง Google > Inbox เพื่อสอบถามข้อมูลการสั่งซื้อ > สั่งซื้อ โอนเงิน แจ้งการโอนเงิน > ได้รับสินค้า > พอใจในสินค้าและบอกต่อ ซึ่งโดยรวมก็จะเป็นประมาณนี้

6.กระแส คือ โอกาสที่ดีที่สุด

อะไรขายดีก็แห่ทำตามเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปและดูจะหนักมากในบ้านเรา ซึ่งนำไปสู่สภาวะตลาดเฟ้อและตลาดวาย จริงอยู่ที่ทุกธุรกิจที่คุณคิดได้มีคนคิดได้และลงมือทำก่อนคุณไปแล้วหนึ่งก้าวเสมอ แต่การเลียนแบบโมเดลหรือแห่ทำตามคนแรกๆ ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จก่อให้เกิด Over supply ในขณะที่จำนวนลูกค้าก็ยังเป็นกลุ่มเดิมและจำนวนเท่าเดิม

ในที่สุดกลไกทางเศรษฐศาสตร์ก็จะดึงระบบมาสู่จุดดุลยภาพอีกครั้ง คือต้องมีคนเจ๊งออกไปจากตลาด การทำธุรกิจประเภทเดียวกันไม่ใช่ปัญหา ขอเพียงศึกษาช่องว่างช่องโหว่ของเจ้าตลาดเดิมที่ยังไม่ถูกเติมเต็มแล้วนำมาพัฒนาเป็นจุดแข็งหรือข้อแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ของตนเอง ไม่ใช่ก็อปปี้มาทั้งดุ้นยันรูปสินค้าก็ไปเอาของเขามาด้วย