ในยุค New Normal ช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ท่ามกลางพฤติกรรมของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยที่หลายธุรกิจต้องปรับวิธีการบริหารจัดการธุรกิจเช่นกัน โดยเฉพาะ ธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้คนค่อนข้างมาก เพราะมีจำนวนสาขาของแต่แบรนด์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ฉะนั้นแล้ว ผู้บริหารหรือเจ้าของแฟรนไชส์จะมีวิธีรับกับสถานการณ์นี้อย่างไร
1.วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในสังคม
พฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือ การหันมาใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของสุขลักษณะ ผู้คนสวมหน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ และเว้นระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าอาหารก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารนอกบ้านลดลง หันมาใช้บริการเดลิเวอรี่มากขึ้น ดังนั้น หากเจ้าของแฟรนไชส์ หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์มองเห็นถึงจุดนี้ การผูกบริการแอบพลิเคชั่นเดลิเวอรี่ จึงมีความน่าสนใจมาก
2.เทรนด์อาหารสุขภาพมาแรง
จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนหันมารักและใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัส รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พฤติกรรมการกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ดังนั้น นอกจากผู้บริโภคจะใส่ใจกับสุขอนามัยของอาหารมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น แฟรนไชส์ธุรกิจทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม ควรเน้นเรื่องจุดนี้เป็นพิเศษ กับประโยคที่ว่า “ให้อาหารเป็นยา” ยังคงใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ลองหันมาพัฒนาเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้คนในยุคนี้ ก็ดูดีมิใช่น้อย
3.ยุคธุรกิจออนไลน์ (E-commerce) เพื่องฟู
ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คแทบจะไม่ได้ ดังนั้น ในเรื่องของการทำการตลาด ควรใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์ การใช้ประโยชน์โซเชียลผ่านออนไลน์เป็นการลงทุนที่ถือว่าน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย การถ่ายรูปลงเพจเฟสบุ๊ก รีวิวร้าน หรือสร้างเครือข่ายโซเชียลเน็ตเน็ตเวิร์ค ถือว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณและในอนาคต
4.ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession)
ผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรุนแรงยิ่งกว่าวิกฤตการเงินที่ผ่านมาในอดีต ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ติดลบ และธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงต้องประหยัดลดค่าใช้จ่าย รวมถึงลดความถี่ในการใช้บริการตามความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น หนทางแก้ไขนอกเหนือจากการใช้โซเชียลในมือให้เป็นประโยชน์ คือ การจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการรับรู้ และการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อสร้างการรับรู้และให้ผู้คนคุ้ยเคยกับแบรนด์ ซึ่งผลพลอยได้คือ หากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ แบรนด์แฟรนไชส์ของคุณจะยังอยู่ในใจของลูกค้าไม่รู้ลืมเลยทีเดียว