ว่ากันว่า “You are What you eat” แปลว่า “คุณจะเป็นในสิ่งที่คุณกิน” คำกล่าวนี้เป็นจริงสำหรับกลุ่มผู้รักสุขภาพ ที่หันมาสนใจกันออกกำลังกาย และรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างที่เรียกว่า “อาหารคลีน” เพื่อดูแลรูปร่างให้สมส่วน มีซิ๊กแพ็คสมใจอยาก นับว่าเป็นเทรนด์ที่มาแรงในช่วง 2-3 ปีมานี้ วันนี้เราจึงนำเสนอรูปแบบของธุรกิจอาหารคลีนเพื่อสุขภาพและข้อแนะนำหากมีผู้ใดต้องการจะเริ่มต้นธุรกิจนี้ เพื่อเป็นแนวทางและข้อมูลเบื้องต้น
อะไรคือ อาหารคลีน
อาหารคลีน มาจากภาษาอังกฤษ คำว่า “Clean Food” คืออาหารที่ไม่ต้องผ่านการแต่งด้วยสารเคมี หรือกระบวนการแปรรูปต่างๆ มีโซเดียมและไขมันที่ไม่ดีน้อย ไม่ใส่สารกันบูด และปรุงสดใหม่ โดยให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติหรือรสชาติต้นตำรับของอาหารนั้นให้มากที่สุด
หัวใจหลักของอาหารคลีนคือ
1.วัตถุดิบสดใหม่ ไม่ผ่านการแปรรูป มีสารอาหารครบถ้วน
2.ปรุงให้น้อยที่สุด และไม่มันจนเกินไป
3.มีการคำนวนแคลเลอรี่และระบุให้ชัดเจนว่ามื้อนี่ให้พลังงานเท่าใด
จะเห็นได้ว่าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนเนื่องจากมีการลดต้นทุนในส่วนของเครืองปรุงอาหารไปพอสมควร ดังนั้นหลักในการตั้งราคาของอาหารคลีนจึงขึ้นอยู่กับ วัตถุดิบสดที่นำมาปรุงอาหาร นั่นเอง
กลุ่มลูกค้า
กลุ่มลูกค้าของอาหารคลีนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่อยากหันมาดูแลสุขภาพแต่ไม่ค่อยมีเวลา อย่างพนักงานประจำ หรือกลุ่มคนที่ออกกำลังกายและต้องการลดน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อ ตลอดจน กลุ่มนักศึกษาหรือวัยสูงอายุที่ต้องการดูแลสุขภาพของตนเอง
ทำเลของร้านอาหารคลีน
อีกหนึ่งจุดเด่นของธุรกิจประเภทอาหารคลีน คือ จะมีหน้าร้านหรือไม่มีหน้าร้านก็ได้ โดยใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์หรือทำโฆษนาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น สามารถมีบริการส่งถึงบ้านหรือที่ทำงาน โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่ร้านเพียงอย่างเดียว
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้น
1.สร้างเรื่องราวให้แบรนด์ของเราน่าสนใจ และให้ลูกค้ารู้ว่าทำไมต้องมาซื้อกับเรา ยิ่งทำเป็นวีดีโอได้ยิ่งดี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
2.เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งเยอะดังนั้นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในระยะใกล้ให้ชัดเจน หากเราต้องการที่จะทำการส่งถึงบ้าน
3.ต้องมีการวางแผนในการขนส่งเป็นอย่างดี อย่างเช่นต้องมีการกำหนดพื้นที่การจัดส่งและคำนวนค่าบริการต้องตกลงกับผู้ขับรถส่งให้แน่นอน เพื่อนำมาบวกเพิ่มในราคาขายของเราได้แน่นอน
4.ราคาขายต้องสมเหตุสมผล คือ ไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป เนื่องจากถ้าถูกเกินไปก็จะเป็นการขัดภาพลักษณ์สินค้าและขาดทุนได้ แต่ถ้าแพงเกินไปก็จะไม่มีลูกค้าคนใดยอมจ่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : teletravailler