โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

เทคนิค 4 "อย่า" ค้าขายกับคนจีนอย่างไร ไม่ให้โดนหลอก

เมื่อพูดถึง “จีน” ประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ มีผู้บริโภคจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังเป็นฐานการผลิตสินค้าหลากหลายชนิดที่มีต้นทุนต่ำ ทำให้นักธุรกิจไทยจำนวนมากเห็นถึงโอกาสที่จะนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนและต้องการส่งออกสินค้าไทยไปตีตลาดยังแดนมังกร

อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจดังกล่าวก็ไม่อาจหนี้พ้นเหล่า “มิจฉาชีพ” ที่แฝงตัวมาในหลากหลายรูปแบบฉวยโอกาสหลอกลวงผู้ที่ประมาท และไม่ระมัดระวังเพียงพอ
โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้เกิดกรณีนักธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยถูกฉ้อโกงจากมิจฉาชีพจีนสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล จนถึงปัจจุบันปัญหานี้ยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังส่งผลลุกลามจนทำให้เสียภาพลักษณ์และความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันด้วย

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ชี้ช่องรวย แนะนำ 4 อย่า เพื่อให้คุณๆ ได้หยุดคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจลงทุน ดังนี้

1.อย่าเชื่อในสิ่งที่ “เห็น”

ปกติแล้วหากเราต้องการซื้อหรือขายสินค้า มักจะเริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลของสินค้า ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น พบปะกับผู้ค้าโดยตรงผ่านงานแสดงสินค้า อ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา หรือผ่านคนแนะนำ สำหรับการหาคู่ค้าที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายไม่สามารถมาเจอหน้ากันได้โดยตรงและไม่สะดวกที่จะเดินทางมาตรวจสอบว่าผู้ขายมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ สื่อที่จะได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้คงจะหนีไม่พ้น “อินเตอร์เน็ต” ที่ทั้งสะดวกและรวดเร็ว (จากข้อมูลพบว่าร้อยละ 80 ของนักธุรกิจไทยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อหลักในการติดต่อและหาข้อมูลคู่ค้า)

ประเด็นที่ต้องนึกถึงก็คือ จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวจีนมีจำนวนมหาศาลเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งแน่นอนว่าโลกออนไลน์นี่เองที่เป็นแหล่งซึ่งคนร้ายจำนวนมากแฝงตัวอยู่

เมื่อพิจารณากรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้นกับนักธุรกิจไทยพบว่า เหยื่อหลายรายมักจะ "ติดกับ" เหล่ามิจฉาชีพตั้งแต่เริ่มต้นในการหาคู่ค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยรูปแบบการหลอกลวงที่พบเห็นบ่อยจนกลายเป็นสูตรสำเร็จคือ การสร้างเว็บไซต์ที่เพียบพร้อมด้วยข้อมูล รูปภาพของสินค้าและที่ตั้งของโรงงานหรือบริษัทขึ้นมาเพื่อตบตาเหยื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือ แต่เบื้องหลังที่แท้จริงแล้วกลับเป็นว่าบริษัทไม่มีอยู่จริงหรือถ้ามีก็ไม่ตรงกับข้อมูลที่นำเสนอ

2.อย่าเอาแต่ “สะดวก”

นักธุรกิจไทยบางรายต้องเสียรู้ให้แก่เหล่ามิจฉาชีพเพราะว่าต้องการความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรม โดยมักติดต่อกันผ่านทางอีเมล์และตกลงซื้อขายสินค้ากันในทันที ละเลยกับการตรวจสอบ “ความน่าเชื่อถือ” ของบริษัทคู่ค้า ดังนั้น นักธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญถามหากเอกสารทางการค้าที่จำเป็นจากผู้ขายหากไม่แน่ใจว่าบริษัทที่ติดต่อด้วยมีตัวตนจริงหรือไม่ ควรใช้ทุกวิถีทางตรวจสอบโดยละเอียด อย่าใช้นิสัย “เกรงใจ” แบบคนไทย เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการโอนเงินไปให้คู่ค้า อำนาจการต่อรองของเราจะยังมีเหนือกว่าเสมอ

ดังนั้น เพื่อเป็นการคัดกรองว่าคู่ค้ามีความน่าเชื่อถือแค่ไหน ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

1) เริ่มสอบถามข้อมูลบริษัทในเบื้องต้น ถามรายละเอียดกับพนักงานขายอย่างละเอียด ว่าเป็นผู้ผลิตหรือเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย สถานที่ตั้ง ประเภทสินค้า ราคา ขอบเขตการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

2) ตรวจสอบหนังสือจดทะเบียนบริษัท หนังสืออนุญาตการนำเข้าส่งออกหรือใบรับรองคุณภาพมาตรฐานการผลิตในโรงงาน โดยเอกสารดังกล่าวจะต้องให้คู่ค้ามีการรับรองเอกสารอย่างถูกต้องจากรัฐบาล มีการประทับตราและลงวันที่จากหน่วยงานอย่างชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้วหากเป็นบริษัทที่มีตัวตนอยู่จริงก็จะสามารถส่งเอกสารเหล่านี้ทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ

3) Cross Check หรือตรวจสอบใบจดทะเบียนอีกครั้งเพื่อความมั่นใจกับหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับหน่วยงาน SAIC (State Administration of Industry and Commerce) ของแต่ละพื้นที่

เมื่อพร้อมตกลงจะทำการซื้อขายระหว่างกันแล้ว โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าจำนวนมาก เพื่อสร้างความมั่นใจอีกระดับ ควรมีการทำสัญญาทางการค้าที่เป็นกิจลักษณะ เพราะหากเกิดกรณีพิพาท สัญญาทางการค้าจะมีประโยชน์ในการฟ้องร้องทางกฎหมายหรือการหาตัวกลางในการระงับข้อพิพาท จากข้อมูลพบว่ามีเพียงร้อยละ 10 ของผู้ประกอบการไทยเท่านั้นที่มีการทำสัญญาทางการค้า

นอกจากนี้ ก่อนการรับมอบสินค้าและชำระเงินทั้งหมดให้แก่คู่ค้า ควรมีการตรวจสอบโดยการจ้างบริษัท Surveyer สุ่มตรวจสินค้าทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ณ ท่าเรือต้นทางก่อนจะส่งสินค้ามายังเป้าหมาย เพราะหากได้สินค้าคุณภาพ และปริมาณไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ คู่ค้าจีนก็มักใช้เทคนิคเตะถ่วงหนี้และรักษาลูกค้าควบคู่กันไปในตัว ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่ได้เงินคืนเต็มจำนวน ซึ่งเมื่อเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นผู้ประกอบการไทยจะเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

3.อย่า “ประมาท”

ปัจจุบันมีแฮกเกอร์ระบาดในจีนมากขึ้น โดยกลุ่มมิจฉาชีพมักจะเฝ้าติดตาม เจาะข้อมูลอีเมลล์คู่ค้า รอจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงโอนชำระเงินและสวมรอย โดยอาจจะเปลี่ยนชื่ออีเมล์ของทั้งสองฝ่ายเพียงเล็กน้อย เช่น จากเดิม [email protected] เป็น [email protected] โดยที่นักธุรกิจไม่ทันสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงว่าเราได้คุยกับคู่ค้าตัวจริงหรือไม่ หรืออาจมีการแจ้งเปลี่ยนชื่อ-สกุล เลขบัญชีธนาคารและข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเหล่ามิจฉาชีพจะทำกันเป็นขบวนการ

ดังนั้น ก่อนการโอนเงินชำระค่าสินค้าทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการดำเนินธุรกิจระหว่างกันเป็นครั้งแรก หรือได้รับการแจ้งทางอีเมล์ถึงการเปลี่ยนแปลงเลขที่บัญชีใหม่ ต้องมีการโทรศัพท์สอบถามโดยตรงกับผู้ขายสินค้าก่อนเพื่อยืนยันความถูกต้องข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังต้องหมั่นติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย และเปลี่ยนรหัสผ่านเข้าอีเมล์ให้ซับซ้อนยากแก่การเจาะระบบของมิจฉาชีพ

4.อย่าเห็นแก่ของ “ถูก”

“ของถูกมักเป็นของไม่ดี ของดีราคามักไม่ถูก” เป็นคำพูดที่ชาวจีนมักพูดอยู่เสมอเพื่อเตือนใจก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าใดว่าของที่ถูกนั้นอาจไม่ใช่ของดีเสมอไป นักธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยมองเพียงแค่อยากได้สินค้าราคาถูกเพื่อจะนำไปขายให้ได้กำไรสูงสุด เหล่ามิจฉาชีพก็เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าวและมักจะวางแผนหลอกล่อคู่ค้าที่เจรจาโดยยื่นข้อเสนอขายสินค้าให้ราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่กลับให้เวลาตัดสินใจซื้อในช่วงสั้น ๆ เพื่อเร่งให้ตัดสินใจซื้อและโอนเงินก้อนแรกเป็นค่ามัดจำ และเมื่อได้เงินแล้วก็จะหลบหนีไป

เพราะฉะนั้น จงอย่าเห็นแก่ข้อเสนอราคาที่เย้ายวนให้รีบตัดสินใจซื้อสินค้าในราคาต่ำ หากพบสินค้าที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาดมาก ควรตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นคู่ค้าในคราบมิจฉาชีพและต้องเพิ่มการตรวจสอบบริษัทดังกล่าวเป็นทวีคูณ

หากประสบปัญหาฉ้อโกงแล้ว คุณควรทำอย่างไร?

1.แจ้งเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากรทันทีเมื่อพบปัญหา โดยอาจมีการลงบันทึกตู้สินค้า รายละเอียดของปัญหาในเบื้องต้น

2.ประสานหน่วยงานตรวจสอบสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ เก็บข้อมูลของสินค้าอย่างละเอียดเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี

3.รวบรวมข้อมูลเอกสารและหลักฐานการติดต่อทางการค้าให้ครบถ้วน

4.แจ้งความกับสถานีตำรวจไทย

5.ประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานเอกอัคราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการประสานให้ความช่วยเหลือต่อไป

สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการนำสินค้าไปเปิดที่ตลาดจีน แต่ยังไม่มีความรู้หรือยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน ชี้ช่องรวย ขอแนะนำหลักสูตรที่น่าสนใจ คือ Smart Manual for Entering Chinese Market “ปูพื้นการตลาดจีน ยกระดับการขยายตลาดจีนอย่างยั่งยืน” ที่จะช่วยให้คุณมีความรู้เท่าทันกับกฎหมายและรายละเอียดต่างๆ ในการลงทุนที่ประเทศจีน

โดยหลักสูตรนี้จะสอนให้คุณรู้จักประเทศจีนแบบครอบคลุมทุกจุด รวมไปถึงตลาดในจีนและผู้บริโภคชาวจีน ที่รูปแบบการสอนจะเน้นให้คุณมองภาพเหมือนเดินทางไปตลาดจีนแบบ Step by Step สอนโดย คุณสุวัฒน์ รักทองสุข ผู้บริหาร บริษัท Lert Global Group จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจีนและธุรกิจ Ecommerce จะมาให้ความรู้การตลาดจีนและโอกาสการเข้าไปเปิดตลาดจีน พร้อมทั้งให้ความรู้และตอบข้อสงสัยให้กับคุณได้

โดยการอมรมแบบเข้มข้นใน 1 วัน + Workshop 1 วัน และ Product Testing !!! มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้

1.ภาพรวมตลาดจีน: ศักยภาพ

• ศักยภาพทางเศรษฐกิจ

• ตลาดการบริโภคสินค้า

• เทรนด์อุตสาหกรรม

• การแบ่งทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจในประเทศ

2. รู้จักประเทศจีนดีแล้วหรือยัง? พฤติกรรมผู้บริโภคที่ไม่เคยมีใครบอกคุณมาก่อน

• การแบ่งผู้บริโภค 4 ด้าน

• ประเภทของผู้บริโภคและความชอบของผู้บริโภค

• เทรนด์ของผู้บริโภคในปี 2020-2021

• “เศรษฐกิจของกลุ่มแฟนคลับ” ผลลัพธ์จากดาราไทย

3. สินค้าขายดีในตลาดจีน: เทรนด์ของสินค้าและการผลิตที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทันที

• เทรนด์ของสินค้า

• สินค้าขายดี

4. กลยุทธ์การเข้าตลาดจีน

• วิเคราะห์ว่าคุณพร้อมไปตลาดจีนหรือยัง

• ชื่อจีนและโลโก้

• การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

• งานวิจัยตลาดจีนและผู้บริโภคจีน

• วิเคราะห์ช่องทางการขายและโมเดลการส่งออก

• การหานายหน้า

• การเริ่มทำการตลาดและ Branding

• การขายบน e-Commerce จีน

ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น โอกาสที่จะนำสินค้าไทยเข้าไปเปิดตลาดจึงมีความเป็นไปได้สูง เพราะผู้บริโภคชาวจีนเชื่อมั่นในสินค้าไทย จากการเปิดรับสินค้าและผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยแทบจะทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การศึกษาตลาด ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายของจีนจะช่วยให้คุณก้าวไปเปิดตลาดในจีนได้อย่างมั่นใจ

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 094-915-4624