เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่าการส่งออกสินค้านั้นต้องทำอย่างไรโดยเฉพาะ “ประเทศจีน” ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่มีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่มักให้ความสนใจที่จะนำเข้าสินค้ามาขาย วันนี้ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะนำเสนอ ขั้นตอนการส่งออกสินค้าไป “จีน” ให้กับใครก็ตามที่กำลังวางแผนธุรกิจเจาะตลาดแดนมังกร มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่เราต้องศึกษา คือ ทางการไทยอนุญาติให้ส่งออกสินค้าใดบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตัวสินค้าที่สนใจจะส่งออก โดยปัจจุบันไทยได้แบ่งสินค้าส่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่
1.สินค้ากำหนดมาตรฐานส่งออก
พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าส่งออกของไทย เพื่อเป็น การรักษามาตรฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด และควบคุมคุณภาพของสินค้าที่จะส่งออกจากไทย ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้นำเข้าในต่างประเทศ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันแก่สินค้าส่งออกของไทยด้วย
ปัจจุบัน ไทยกำหนดสินค้าที่มีมาตรฐานส่งออก 10 รายการ ได้แก่ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวฟ่าง แป้งมันสำปะหลัง ปลาป่น ไม้สักแปรรูป ปุยนุ่ย ถั่วเขียว และถั่วเขียวผิวดำ โดยสามารถดูข้อมูลอ้างอิงได้จากเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ของไทย www.moc.go.th
2.สินค้ากำหนดมาตรการส่งออก
พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดมาตรการสำหรับ การส่งออกสินค้าจากไทย เพื่อเป็นการจัดระเบียบควบคุมการส่งออกให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลไทยกำหนดเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและประโยชน์ของชาติ ตลอดจนเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้วย
ปัจจุบัน ไทยแบ่งสินค้าที่มีมาตรการการส่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สินค้าห้ามส่งออก สินค้าที่ต้อง ขออนุญาตส่งออก และสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง/ขึ้นทะเบียน/ขึ้นบัญชีประกอบการส่งออก
3.สินค้ากำหนดโควต้าส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดโควต้าการส่งออกสินค้าบางประเภท เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณสินค้าที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ โดยปัจจุบันได้จำกัดปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญ 4 รายการ ได้แก่
- ข้าว
- มันสำปะหลัง
- น้ำตาล
- ยางพารา
โดยสามารถศึกษากฎระเบียบเกี่ยวกับ การส่งออกสินค้าทั้ง 4 รายการดังกล่าวได้จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2547-4771-86 หรือสายด่วนหมายเลข 1385 เว็บไซต์ www.dft.go.th
4.สินค้าทั่วไป
สินค้าทั่วไป หมายถึง สินค้าอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากประเภทสินค้า 3 ประเภทข้างต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกได้โดยเสรี
นอกจากนนี้ยังมีสินค้าอีก 3 ประเภท ที่มีข้อจำกัดได้แก่ สินค้าห้ามส่งออก, สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออก และสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง / ขึ้นทะเบียน / ขึ้นบัญชีประกอบการส่งออก
สินค้าห้ามส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ประกาศห้ามส่งออก “ทราย” เพื่อสงวนไว้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพื่อเป็นการป้องกันการทำลายสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออก
1.สินค้าเกษตรกรรม ได้แก่
- ข้าว / ข้าวส่งออกภายใต้โควต้าภาษีของสหภาพยุโรป
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
- ไม้และไม้แปรรูป
- กาแฟ
- กากถั่ว
- ถ่านไม้
- ช้าง
- กุ้งกุลาดำมีชีวิต
- หอยมุกและผลิตภัณฑ์
- ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต
2.สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่
- น้ำตาลทราย
- ถ่านหิน
- เทวรูป
- พระพุทธรูป
- ทองคำ
- สินค้ารี-เอ็กซ์ปอร์ต
- แร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบ
3.สินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง/ขึ้นทะเบียน/ ขึ้นบัญชีประกอบการส่งออก
- ผัก ผลไม้
- ดอกกล้วยไม้
- ลำไย
- ทุเรียน
- กุ้ง ปลาหมึก และผลิตภัณฑ์
- ปลาทูน่าบรรจุภาชนะอัดลม
- สับปะรดกระป๋อง
- เครื่องนุ่งห่ม ด้าย ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ทออื่นที่มิใช่เครื่องนุ่งหุ่ม
- รถยนต์และชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ส่งออกไปไต้หวัน
- เพชรที่ยังไม่เจียระไน
หมายเหตุ : สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการของสินค้าแต่ละประเภทได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ www.dft.go.th หรือติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม ได้ที่สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2547-4771-86
เมื่อตรวจสอบแล้วว่าสินค้าที่ต้องการส่งออกสามารถส่งออกไปจีนได้ตามกฎระเบียบการนำเข้าของจีนและกฎระเบียบการส่งออกของไทยแล้ว ขั้นตอนต่อมาผู้ประกอบการจะต้องเตรียมตัว ดังนี้
1.ทำบัตรประจำตัวผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้า
หากต้องการจะทำธุรกิจส่งออกจำเป็นจะต้องมีบัตรใบนี้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงสถานะการเป็น ผู้ส่งออก ซึ่งต้องใช้สำหรับติดต่อกับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น การขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า การขออนุมัติเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่มีมาตรฐานและมาตรการส่งออก เป็นต้น
โดยสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการทำบัตรได้ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 02-5474754 หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 ต่อ 4101, 4161 หรือศึกษารายละเอียดการจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นด้วยตนเอง หรือดูรายละเอียดขั้นตอนได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ https://bit.ly/2USorSY
2.ลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ออกของกับกรมศุลกากรไทย
เดิมทีผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกจะต้องทำบัตรฐานข้อมูลประจำตัวกับกรมศุลกากรไทย เพื่อใช้แสดงสำหรับดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร แต่ปัจจุบันกรมศุลกากรได้เปิดให้บริการพิธีการศุลกากรการส่งออกระบบไร้เอกสาร (paperless) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้ยกเลิกใช้บัตร Smart Card ดังกล่าวแล้ว
ซึ่งผู้ที่จะทำธุรกิจส่งออกจำเป็นต้องลงทะเบียนกับกรมศุลกากรก่อนจึงจะสามารถใช้บริการดังกล่าวได้ โดยสามารถศึกษาวิธีการลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร https://bit.ly/370BWFJ หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศุลกากร หมายเลข 1164
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นแนวทางการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการนำสินค้าไปเปิดที่ตลาดจีน แต่ยังไม่มีความรู้หรือยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน ชี้ช่องรวย ขอแนะนำหลักสูตรที่น่าสนใจ คือ Smart Manual for Entering Chinese Market “ปูพื้นการตลาดจีน ยกระดับการขยายตลาดจีนอย่างยั่งยืน” ที่จะช่วยให้คุณมีความรู้เท่าทันกับกฎหมายและรายละเอียดต่างๆ ในการลงทุนที่ประเทศจีน
โดยหลักสูตรนี้จะสอนให้คุณรู้จักประเทศจีนแบบครอบคลุมทุกจุด รวมไปถึงตลาดในจีนและผู้บริโภคชาวจีน ที่รูปแบบการสอนจะเน้นให้คุณมองภาพเหมือนเดินทางไปตลาดจีนแบบ Step by Step สอนโดย คุณสุวัฒน์ รักทองสุข ผู้บริหาร บริษัท Lert Global Group จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจีนและธุรกิจ Ecommerce จะมาให้ความรู้การตลาดจีนและโอกาสการเข้าไปเปิดตลาดจีน พร้อมทั้งให้ความรู้และตอบข้อสงสัยให้กับคุณได้
โดยการอมรมแบบเข้มข้นใน 1 วัน + Workshop 1 วัน และ Product Testing !!! มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้
1.ภาพรวมตลาดจีน: ศักยภาพ
- ศักยภาพทางเศรษฐกิจ
- ตลาดการบริโภคสินค้า
- เทรนด์อุตสาหกรรม
- การแบ่งทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจในประเทศ
2.รู้จักประเทศจีนดีแล้วหรือยัง? พฤติกรรมผู้บริโภคที่ไม่เคยมีใครบอกคุณมาก่อน
- การแบ่งผู้บริโภค 4 ด้าน
- ประเภทของผู้บริโภคและความชอบของผู้บริโภค
- เทรนด์ของผู้บริโภคในปี 2020-2021
- “เศรษฐกิจของกลุ่มแฟนคลับ” ผลลัพธ์จากดาราไทย
3.สินค้าขายดีในตลาดจีน: เทรนด์ของสินค้าและการผลิตที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทันที
- เทรนด์ของสินค้า
- สินค้าขายดี
4.กลยุทธ์การเข้าตลาดจีน
- วิเคราะห์ว่าคุณพร้อมไปตลาดจีนหรือยัง
- ชื่อจีนและโลโก้
- การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- งานวิจัยตลาดจีนและผู้บริโภคจีน
- วิเคราะห์ช่องทางการขายและโมเดลการส่งออก
- การหานายหน้า
- การเริ่มทำการตลาดและ Branding
- การขายบน e-Commerce จีน
ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น โอกาสที่จะนำสินค้าไทยเข้าไปเปิดตลาดจึงมีความเป็นไปได้สูง เพราะผู้บริโภคชาวจีนเชื่อมั่นในสินค้าไทย จากการเปิดรับสินค้าและผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยแทบจะทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การศึกษาตลาด ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายของจีนจะช่วยให้คุณก้าวไปเปิดตลาดในจีนได้อย่างมั่นใจ
สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 094-915-4624