ตลาดกาแฟ ณ เวลานี้ มีพัฒนาการค่อนข้างเร็วและชัดเจนมาก จากเดิมที่ผู้คนนิยม “กาแฟสำเร็จรูป” มาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยาวมาจนถึงปี 2523 คนเริ่มรู้จักการดื่ม “กาแฟคั่วบด” จากแฟรนไชส์แบรนด์ดังที่เข้ามาเปิดตลาด จนมาถึงปัจจุบันที่คนหันไปดื่มกาแฟสดกันจริงจังมากขึ้น เริ่มมองหาร้านกาแฟเจ๋งๆ ลองดื่ม ขอเป็นเมล็ดกาแฟพันธุ์ดี มาจากแหล่งเพาะปลูกขึ้นชื่อเรื่องกาแฟ ชงอย่างละเมียดโดยบาริสต้าที่มีฝีมือ ไม่ใช่แค่ดื่มกาแฟเป็นกิจวัตรประจำวัน แต่กลายเป็น “วิถีนิยมของคนรุ่นใหม่” ที่สนุกเพลิดเพลินไปการตะเวนเข้าร้านคาเฟ่ และด่ำไปกับบรรยากาศ ที่มีทั้ง “อร่อย+อวด” ลงโซเชี่ยลมีเดียได้ในร้านเดียว
- อยากเปิดเกิดง่าย แต่รอดแค่ 6 ปี
ท่ามกลางกระแสนิยม ที่ใครๆ ก็ “ฝัน” อยากเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเอง จนเกิดแบรนด์ร้านกาแฟต่างๆ ขึ้นเป็นดอกเห็ด ทั้งสาขาแบรนด์ไทย แบรนด์นอก หรือร้านเล็กๆ คอนเซ็ปต์ใหม่ ร้านกาแฟจะว่าเปิดได้ง่าย ก็ง่ายอยู่เพราะธุรกิจร้านกาแฟไม่มีการกีดกันผู้เล่นหน้าใหม่ ใครมีความคลั่งไคล้และทุนหนาพอก็โดดเข้ามาได้
ข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ณ วันที่10 กุมภาพันธ์ 2563) หากนับเฉพาะร้านที่ตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้า 770 ราย เพิ่มขึ้น 2.12% แบ่งเป็นร้านกาแฟสัญชาติไทย 691 ราย และต่างชาติร่วมทุน 79 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียนรวม 2,155 ล้านบาท รายได้รวม 12,260 ล้านบาท
หากย้อนดูปี 2562 พบว่า อัตราการเปิดร้านกาแฟใหม่เติบโตสูงถึง 64.75% และอัตราการอยู่รอดของร้านกาแฟที่เปิดช่วงปี 2559-2563 ยังสูงถึง 94.7% มีอายุเฉลี่ยที่ 6 ปี นับตั้งแต่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2563 มีร้านกาแฟเปิดใหม่ถึง 18 ราย ส่วนใหญ่เป็นร้านกาแฟขนาดเล็ก
- ส่อง The Player เจ้าตลาดในไทย
คาเฟ่ อเมซอน - ครองส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจร้านกาแฟไปกว่า 40% ด้วยจำนวนสาขามากที่สุดในตลาด คือมากกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563) โดย 62.8% เป็นสาขาอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. สัดส่วนที่เหลือกระจายสาขาอยู่ในโมเดิร์นเทรด มหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน และร้านค้าเดี่ยว (Stand alone) ราว 80% ของเป็นการลงทุนผ่านแฟรนไชส์ ล่าสุดเปิดโมเดล “คาเฟ่ อเมซอนทูโก” โฟกัสสาขาขนาดเล็ก มุ่งทำเลบนสถานีรถไฟฟ้า
สตาร์บัคส์ - เชนกาแฟระดับโลก (ณ เดือนมีนาคม 2563) อยู่ที่ 402 สาขา สำหรับอัตราเร่งในการขยายสาขาช่วงแรกเฉลี่ย 10-15 สาขาต่อปี แต่ในช่วง 3 ปีหลังมานี้ได้เร่งขึ้นเป็นปีละ 40 สาขาและขยายสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น เปิดช่องทางไดร์ฟ ทรู รวมถึงการนำแบรนด์ ‘สตาร์บัคส์’ เข้าสู่พื้นที่สถานีบริการน้ำมัน
ขณะที่ร้านกาแฟที่ไม่ใช่ Franchise มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 94.4 ของธุรกิจร้านกาแฟทั่วประเทศไทยในปี 2561
จากข้อมูลของศูนย์อัจริยะ อุตสาหกรรมอาหาร มูลค่าธุรกิจร้านกาแฟในไทยนับตั้งแต่ปี 2560 ที่มีมูลค่า 2.12 หมื่นล้านบาท และ 2.34 หมื่นล้านบาทในปี 2561 และ 2.58 หมื่นล้านบาทในปี 2562 จะเห็นว่าตัวเลขสูงขึ้นทุกๆ ปี ทั้งที่อัตรการบริโภคกาแฟสดของคนไทยเฉลี่ย 300 แก้วต่อคนต่อปี น้อยกว่าประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ที่ดื่มกาแฟกันเฉลี่ย 400-600 แก้วต่อคนต่อปี สะท้อนว่าตลาดกาแฟสดในไทยยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้มากถึงปีละ 10%
ถึงแม้เศรษฐกิจจะตกหรือคู่แข่งเยอะขนาดไหน กาแฟก็ยังเป็นสินค้าที่มีความต้องการบริโภคต่อเนื่อง มูลค่าตลาด 2-3 หมื่นล้านบาท กับคำถามที่ว่า โอกาสรวยยังมีเหลือให้คนตัวเล็กไหม ตอบเลยว่า มี แต่แบบมีเงื่อนไขนะ?
- เปิดร้านกาแฟ “เอาเท่” อย่าหาทำ
คนที่เปิดร้านกาแฟแบรนด์ตัวเองแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนส่วนใหญ่นึกอยากจะเปิดก็เปิด ลืมคิดไปว่า จะขายใคร? ขายที่ไหน? ขายอย่างไร? สุดท้ายขายกาแฟเหมือนร้านข้างๆ นั่นแหล่ะ ร้านกาแฟในยุค 2020 ที่อยากรอดผ่านวิฤกติเศรษฐกิจไปได้แบบไม่เสี่ยงเจ๊ง นอกจากคอนเซปต์ร้านและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว หลักๆ มอง คือ
หนึ่ง ทำเล ที่ตั้ง ตัวตัดสินว่าร้านจะอยู่หรือไป คิดให้รอบคอบว่าลูกค้าเราคือใคร อยู่ในสถานแบบไหน เช่น กลุ่มวัยรุ่นเดินห้าง หนุ่มสาวออฟฟิศ นักศึกษา นักเดินทาง คนนอนดึก คนรักสุขภาพ คนรักธรรมชาติ ฯลฯ แล้วค่อยไปหาพื้นที่ ถ้าเลือกทำเลไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ต่อให้แต่งร้านสวย กาแฟดี ราคาโดน ก็ไม่มีลูกค้าเข้าร้าน
สอง ตกแต่งร้านและบรรยากาศ ให้เหมาะแก่การนั่งแช่ฝังตัว ด้วยเก้าอี้นั่งสบาย แยกเป็นโซนต่างๆ นัดคุยเพื่อนฝูง นั่งทำงาน หรือแม้แต่แค่การเซลฟี่แล้วจากไป พื้นที่กว้างๆ จะช่วยดึงดูดคนเข้ามานั่งทำกิจกรรมต่างๆ ในร้าน และตัวช่วยกระตุ้นให้คนภายนอกสนใจ ว่าทำไมคนแน่นร้าน และอยากจะลองเข้าไปดูหรือชิมบ้าง
สาม คุณภาพกาแฟ คอกาแฟส่วนใหญ่จะจดจำเพียงแค่รสชาติ ฝีมือ ความหวาน หอม มันของกาแฟแก้วที่สั่งเป็นหลัก ต้องการสินค้าและบริการที่ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึก (Emotional Value) จะเห็นร้านกาแฟเล็กๆ หลายร้านจะมีการพัฒนาในเรื่องของการชงเข้ามาเป็นจุดขาย พัฒนารสชาติและสูตรใหม่ๆ เสริมเข้าไปตามเทศกาล
สี่ มุมเซลฟี่ และจุดเช็คอินก็สำคัญ ร้านต้องมีจุดให้คนถ่ายรูป เช็คอิน ดึงคนเข้าร้านสร้างความสนใจ เพราะนี่คือความได้เปรียบที่สู้ได้ ของการไม่ได้ทำแฟรนไชส์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้น่าถือ น่าแชะลงโซเชียล ช่วยทำการตลาดแบบปากต่อปากให้กับร้าน
- แฟรนไชส์ ไม่แฟรนไชส์ เลือกแบบไหนดี
อยากเปิด “ร้านกาแฟ” มีให้เลือก 2 ประเภท คือ แฟรนไชส์ กับ ไม่ใช่แฟรนไชส์ เพราะไม่ว่าจะเป็นเปิดแบบไหนลูกค้าก็เข้าร้านมาดื่มทั้งนั้นแหล่ะ จะต่างกันตรงความท้าทายในธุรกิจ
“ต้นทุน” ของร้านกาแฟแบบแฟรนไชส์และไม่ใช่แฟรนไชส์ไม่ต่างกันมากนัก มีเริ่มตั้งแต่หลักแสนบาทจนถึงหลักหลายล้านบาท ถ้าเป็นแฟรนไชส์มีทุกอย่างก็สำเร็จรูป ทั้งจุดแข็งสินค้า คอนเซ็ปต์ตกแต่งร้าน มีลูกค้าประจำ ไม่ต้องเสียเวลาทำการตลาด เหมาะกับคนเพิ่งเริ่มทำธุรกิจ และไม่อยากแบกรับความเสี่ยงคนเดียว
ในขณะที่ร้านไม่เป็นแฟรนไชส์ต้องคิดเองทั้งหมด ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ไอเดียธุรกิจ จุดแข็ง คอนเซ็ปต์ร้านและการตกแต่ง หาทำเล จัดซื้ออุปกรณ์และวัตถุดิบ คิดแผนการตลาด สร้างแบรนด์ให้คนรู้จัก ส่งเสริมการขาย เพิ่มช่องทางการจัดการจัดหน่าย คิดแล้วเหนื่อยแทน! แต่ถ้าทำสำเร็จ รายได้โดยรวมจะเยอะกว่าแบบแฟรนไชส์ เหมาะกับคนที่ชอบความเสี่ยงสูง เพื่อผลกำไรสูงในระยะยาว
- กำไรเท่าไหร่ คืนทุนง่ายไหม
การลงทุนเปิดร้านกาแฟ ต้องใช้เงินลงทุน (ส่วนที่เป็นสินทรัพย์) ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะร้าน Stand Alone ส่วนใหญ่เป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าก่อสร้าง ค่าตกแต่งสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในร้าน คิดเป็นต้นทุนคงที่ 60% ของต้นทุนรวม ทำให้ระยะเวลาคืนทุนนาน
ส่วนต้นทุนกาแฟต่อแก้วนั้น หากคำณวนจากกาแฟเย็น 1 แก้ว ขนาด 22 ออนซ์ ต้นทุนวัตถุดิบ ประกอบด้วย
** ข้อมูลจากแฟรนไชส์กาแฟสด ไร่ช่อลดา
ต้นทุนกาแฟเย็น ขนาด 22 ออนซ์ 1 แก้ว อยู่ที่ 18.19 บาท ตั้งราคาขาย 35 บาท สามารถคำณวนเป็นต้นทุนกำไร ตามยอดขาย (แบบไม่มีค่าเช่าและค่าจ้างพนักงาน) ขั้นต่ำจะมีรายได้อยู่ที่ 25,215 บาทต่อเดือน ส่วนผลกำไรหลังจากหักค่าเช่าสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค จะเหลือมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดและทำเลของแต่ละร้าน
** ข้อมูลจากแฟรนไชส์กาแฟสด ไร่ช่อลดา
- 5 อันดับยอดนิยม ขายคู่กาแฟ
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ร้านกาแฟอยู่ได้ในช่วงเวลานี้ คือต้องไม่อิงยอดขายจากกาแฟเพียงอย่างเดียว ต้องมีตัวเลือกสินค้าอย่างอื่นพ่วงเสริมเข้าไปด้วย เพื่อชดเชยกับปริมาณการหมุนเวียนของลูกค้าต่อโต๊ะ ที่จะใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในร้านกาแฟ เช่น นั่งสนทนา อ่านหนังสือ ถ่ายรูป นานกว่าปกติ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเสนอขายของอย่างอื่นให้จบได้ตรงหน้าเคาน์เตอร์ เพื่อดักทางคอกาแฟในส่วนที่ซื้อกลับบ้าน โดย 5 อันดับยอดนิยม ขายในร้านกาแฟ
หนึ่ง-ขนมอบและเบเกอรี่
สอง-อาหารเช้า อาหารจานเดียว
สาม-เครื่องดื่มทางเลือก เช่น น้ำเปล่า เครื่องดื่มกระป๋อง
สี่-เมล็ดกาแฟสำเร็จรูป
ห้า-แก้วกาแฟ และสินค้าพรีเมี่ยม
- “ไร่ช่อลดา” แฟรนไชส์กาแฟสดพร้อมรวย
จากแรงบันดาลใจของ “คุณช่อลดา แสงอรุณรักษ์” ที่ชื่นชอบและมีความฝันอยากมีร้านกาแฟ ด้วยบ้านเกิดอยู่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของเมล็ดกาแฟ บวกกับกระแสความนิยมดื่มกาแฟสดในขณะนั้น เธอจึงเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ในปี พ.ศ. 2550 ใช้ชื่อร้านว่า “กาแฟสดไร่ช่อลดา” โดยคิดค้นสูตรจากแหล่งต่างๆ จนพัฒนาสูตรมีรสชาติเข้มข้นที่เป็นเอกลักษณ์ และราคาไม่แพง จนวันนี้ “ไร่ช่อลดา” ยังคงยืนหยัดอยู่ในตลาดแฟรนไชส์กาแฟสด สร้างอาชีพให้คนมากมายกว่า 200 สาขา
ใครที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟสด “ไร่ช่อลดา” มีแพคเกจธุรกิจให้เลือกลงทุน
แบบที่หนึ่ง - แฟรนไชส์เต็มรูปแบบ ยกแบรนด์ “ไร่ช่อลดา” ไปตั้งพร้อมขาย โดยไม่ต้องเสียเวลาทำการตลาด เครื่องพร้อม อุปกรณ์พร้อม สูตรพร้อม คิดมาให้แล้วมากกว่า 40 สูตร มีอบรมให้ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวัน รู้เรื่อง! กลับมาชงขายได้เลย จะเปิดร้านขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ อยากได้แบบไหน? เลือกได้ตามเงินในกระเป๋าราคามีตั้งแต่ 13,900 -140,900 บาท
แบบที่สอง - ผู้ที่อยากเริ่มเปิดร้านกาแฟสไตล์ตัวเอง อินดี้ไม่อยากเหมือนใคร ก็เชิญมาที่นี่ได้!! เพราะที่นี่มีซื้อตั้งแต่ซื้อตั้งแต่ เมล็ดกาแฟ เครื่องชงกาแฟ และอุปกรณ์ต่างๆ เคาน์เตอร์ คีออสก์ ฯลฯ เลือกหาได้ตามงบที่อยากลงทุน
แบบที่สาม - คนที่ “ไม่ชอบผูกมัด” ไม่ต้องการไม่ซื้อแฟรนไชส์ครบเซ็ตหรือชุดกาแฟอะไรใดๆ อยากได้แค่สูตรกาแฟสด และเครื่องดื่มต่างๆ ไปทำมาหากินกับอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม ใช้เวลาเรียน 3-4 ชั่วโมง เปิดร้านกาแฟขายได้เลยทันที คิดค่าสูตรตามนี้
- เรียนสูตรกาแฟสด คอร์สละ 2,500 บาท
- เรียนสูตรสมูทตี้และผลไม้ปั่น คอร์สละ 2,500 บาท
- เรียนสูตรกาแฟสด+สมูทตี้และผลไม้ปั่น คอร์สละ 4,000 บาท (ลดจากปกติ 5,000 บาท)
- เรียนสูตรชาไข่มุก 5,000 บาท (ลูกค้าเก่า 3,900 บาท )
ไม่ว่าจะมุมของธุรกิจ ช่อลดา คอฟฟี่ ก็ “จับวาง” เส้นทางรวยด้วยกาแฟไว้หมดแล้ว เหลือเพียงแค่คุณลงมือทำเท่านั้น
- zeroco coffee เจ้าแรกกาแฟสดธัญพืช
ไม่มีอะไรจะบอก “รักตัวเอง” ได้ดีไปกว่า การดื่มกาแฟเพื่อสุขภาพของ “zeroco coffee” (ซีร็อคโค่ คอฟฟี่) ภายใต้แนวคิด “0% ไขมันทรานส์ ใช้ความมันจากถั่วและจมูกข้าวแทนครีมเทียม ใช้ความหวานจาก “หญ้าหวาน” แทนน้ำตาล โดยการค้นคว้าร่วมกันกับทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่สำคัญมีรสชาติที่อร่อยไม่แพ้
จุดเด่นของ Zeroco เน้นหนักไปในเรื่องของ “กาแฟสุขภาพ” และกลายเป็นจุดแข็งของธุรกิจทำกำไร
ธุรกิจแฟรนไชส์ zeroco coffee มีทั้งการวางจำหน่ายสินค้า แบบ 3 in 1 ได้แก่ ชาเขียว 3in1 (500กรัม) ราคา 350 บาท โกโก้ 3in1 (500กรัม) ราคา 350 บาท นมธัญพืช (200กรัม) ราคา 150 บาท และนมธัญพืช (20กรัม/10 ซอง) ราคา 150 บาท
และร้านกาแฟสด ซึ่งเปิดให้บริการ 8 สาขา มีให้เลือกลงทุน 3 ขนาดคือ Premium 169,000 บาท Luxury Indoor 290,000 บาท และ Outdoor 390,000 บาท
ใครที่ชัดเจน! ว่าตัวเอง มาสายสุขภาพ ถือว่าแบรนด์นี้ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมทีเดียว