โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

4 ปัญหาที่มักทำให้ผู้ลงทุน “แฟรนไชส์” ตกม้าตายก่อนสำเร็จ

ที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินหรือได้อ่านกลยุทธ์การทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จมาบ้างแล้ว ซึ่งก็ได้ความรู้จากกูรูผู้มีประสบการณ์ไม่น้อย แต่เท่าที่ได้อ่านได้ฟัง ส่วนใหญ่ที่ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องมาจากการไม่ให้ความสนใจ หรือใส่ใจในการทำธุรกิจอย่างเพียงพอ โดยบกพร่องหรือเข้าใจผิดเพราะเห็นว่าไม่สำคัญ หรือเห็นว่าสำคัญน้อยมาก ชี้ช่องรวย จึงอยากจะมาชี้แนะกับ 4 หลุมพรางที่จะเป็นตัวฉุดรั้งให้คุณเดินหน้าธุรกิจไปไม่ถึงไหน ดังนี้

1.ไม่วางแผนการเงิน

หลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะพบเห็นความล้มเหลวของนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ต้องประสบกับภาวะขาดทุนจนต้องปิดกิจการ นั่นเพราะ คุณไม่วางแผนการเงิน ที่ชัดเจนและเหมาะสม ไม่รัดกุมในการคิดวางแผนการลงทุน กลายเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดทุนสะสม

ดังนั้น การมีวินัยทางการเงิน จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้การเข้าออกกระแสเงินสด (Cash Flow) และตัดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองลงได้ ทำให้คุณเห็นตัวเลขการลงทุน ยอดขาย และกำไร อย่างเป็นรูปธรรม ไม่สะเปะสะปะเหมือนที่ผ่านมา

2.ไม่จัดการต้นทุน

ในการทำธุรกิจไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม การบริหาจัดการต้นทุนถือว่ามีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าสถานที่ ค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบ หรืออื่นๆ ภายในร้าน เพราะเมื่อคุณรู้ต้นทุนอย่างแท้จริง จะสามารถทำให้คุณวางแผนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับงบประมาณการลงทุนของคุณ ผ่านการวางแผนการเงินที่ดีดังข้อ 1 การคำนวณต้นทุนเมื่อหักลบกับยอดรวมไม่ควรอยู่ในอัตราส่วนที่สูงเกินไป

3.ไม่สนใจทำการตลาด

หลักการสำคัญของการทำธุรกิจนั่นคือ การวางแผนทำการตลาด เพราะหากคุณไม่ได้ดำเนินการวางแผนการตลาดที่ดี หรือไม่ได้วางแผนการทำงานอย่างใดเลย ทำให้ขายไม่ดี ผู้คนไม่รู้จัก การทำการตลาด จึงสามารถช่วยให้คุณมีลูกค้าเพิ่มขึ้นได้แถมยังช่วยให้ธุรกิจของคุณพบกับลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย

4.ไม่ทำรายรับ-รายจ่าย

ร้านไหน หรือธุรกิจไหนที่ไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ถือว่าคุณพลาดมาก เพราะเสี่ยงอย่างมากที่ร้านหรือกิจการของคุณจะเจ๊งได้ เพราะแม้จะขายสินค้าได้เยอะ แต่ก็ไม่มีกำไรเหลือต่อวัน การทำรายรับรายจ่ายจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถประเมินผลงานแล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้

เมื่อรู้ต้นตอของปัญหาแฟรนไชส์ของคุณแล้ว ก็อย่าลืมนำไปปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้กิจการของคุณก้าวหน้าและเดินต่อไปได้ เชื่อว่าหากคุณทำได้จะช่วยลดปัญหาให้หมดไปได้