โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

หลักเกณฑ์ 5C ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาในการอนุมัติ “สินเชื่อ”

เชื่อว่าหลายคนคงเคยผิดหวังจากการขอ “สินเชื่อ” จากทางสถาบันการเงินมาแล้วหลายครั้ง และมักจะตั้งคำถามว่าเป็นเพราะเหตุใดที่ทำให้กู้ไม่ผ่าน วันนี้ ชี้ช่องรวย ได้นำ หลักเกณฑ์ 5C ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาในการอนุมัติ “สินเชื่อ” มาให้ดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง

1.Character (บุคลิก ลักษณะและความตั้งใจจริงของผู้กู้)

  • ดูภูมิหลังของเจ้าของ ดูการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ในสังคม บุคลิกลักษณะและแนวคิด
  • ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ชื่อเสียงในการทำงานของกิจการและเจ้าของ
  • ประวัติการใช้เงินกู้กับสถาบันการเงินอื่นๆ ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา
  • ประวัติการใช้เงินกู้กับสถาบันการเงินอื่นๆ ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา

นอกจากนี้ ในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยตัวผู้ขอกู้สินเชื่อจะต้องมีอายุที่อยู่ในเกณฑ์การอนุมัติคือ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หากมีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ผู้กู้อาจจะยังไม่เป็นผู้ที่สามารถสร้างรายได้ได้ด้วยตัวเอง อาจจะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และต้องมีอายุไม่เกินกว่า 60 ปี

หากเกินกว่านี้ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะถือว่าคุณอยู่ในช่วงวัยเกษียณและเป็นผู้ไม่มีรายได้ (แม้ว่าในความเป็นจริงคุณจะทำงานอยู่ก็ตาม) โดยหลักเกณฑ์สากลในการขอกู้สินเชื่อว่าจะผ่านหรือไม่นั้นคือ การนำอายุของผู้กู้มารวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ หากเกินกว่า 60 ปี (หรือสูงสุด 65 ปี) จะถือว่าผู้ขอกู้ไม่ผ่านเกณฑ์การอนุมัติ

อีกนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ อาชีพหน้าที่การงานของผู้ขอกู้สินเชื่อ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ เพราะหากแม้ผู้ขอกู้สินเชื่อจะมีอายุที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถกู้ได้ แต่หากมีอาชีพไม่เป็นหลักเป็นแหล่งหรือมีอาชีพที่ไม่มีรายได้แน่นอน ก็ถือว่าตัวผู้ขอกู้สินเชื่อไม่มีความน่าเชื่อถือและมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้กลายเป็นหนี้เสียได้

2.Capacity (ความสามารถในการทำกำไรและการชำระหนี้)

  • ดูยอดขายและความสามารถในการทำกำไร ผลการดำเนินงานของกิจการ
  • กระแสเงินสดสุทธิเพียงพอกับการผ่อนชำระหรือไม่
  • ลักษณะและขนาดของธุรกิจ
  • นโยบายการบริหาร วิสัยทัศน์ เป้าหมายของกิจการ
  • มีศักยภาพในการแข่งขันหรือไม่และยังมีช่องว่างทางการตลาดให้เข้าไปหรือไม่

ความสามารถในการจ่ายหนี้ของผู้ขอกู้สินเชื่อ เป็นอีกหนึ่งหลักเกณฑ์สำคัญที่ต้องนำเอามาพิจารณา ว่าจะสามารถชำระหนี้ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งหากคุณขอกู้ในวงเงินที่สูงเกินกว่าความสามารถในการชำระหนี้ โดยพิจารณาจากหนี้สินปัจจุบันของผู้ขอกู้สินเชื่อ ว่าภาระหนี้รวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น

บัตรเครดิต ค่าผ่อนรถ บัตรกดเงินสด เป็นยอดขั้นต่ำต่อเดือนนั้นเกิน 60% ของรายได้ต่อเดือนที่คุณได้รับหรือไม่? และอัตราการผ่อนชำระสินเชื่อต่อเดือนที่คุณกำลังขอกู้นั้นเกินกว่า 30% ของรายได้ต่อเดือนของคุณหรือไม่? ถ้าหากว่าตรงตามข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวมา ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็อาจจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับคุณ

นอกจากนี้ การตรวจสอบประวัติเครดิตก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะต้องถูกตรวจสอบ ถึงแม้จะผ่านเกณฑ์ข้างต้น แต่หากมีประวัติว่าเคยค้างชำระหรือเคยชำระล่าช้า ซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือและมีความเสี่ยงต่อการเบี้ยวหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับคุณเช่นกัน

3.Capital (เงินทุนของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น)

  • ดูโครงสร้างเงินทุน
  • ดูทรัพย์สินถาวรของเจ้าของและผู้ถือหุ้น
  • ดูภาระการติดจำนองและคดีความต่างๆที่เจ้าของกิจการถูกดำเนินคดี
  • ดูหนี้สินและทรัพย์สินของกิจการ

สถาบันการเงินจะพิจารณา เงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝากในบัญชีของผู้ขอสินเชื่อ ว่ามีสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน เพราะถือเป็นหลักประกันอย่างหนึ่งและจำเป็นอย่างมากในการขอกู้สินเชื่อธุรกิจ แม้ว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ได้มีเอาไว้เพื่อการชำระหนี้ แต่ก็ถือเป็นแหล่งเงินสำรองที่สามารถนำมาชำระหนี้ได้

ถ้าหากผู้ขอกู้สินเชื่อมีเงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝาก ในบัญชีในระดับที่มีความน่าเชื่อถือการอนุมัติสินเชื่อก็จะง่ายมากขึ้น เพราะหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้นทำให้ผู้ขอกู้สินเชื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็ยังวางใจว่าผู้ขอกู้สินเชื่อยังมีเงินทุน เงินฝาก หรือสินทรัพย์อื่น ๆ มาชำระหนี้แทนนั่นเอง

4.Collateral (หลักค้ำประกัน) เพื่อป้องกันหนี้สูญ สถาบันการเงินจะขอหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน

  • ดูประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • ใช้สิทธิการเช่าเป็นหลักประกัน
  • โอนหุ้นสามัญ หุ้นกู้เป็นหลักประกัน
  • ใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักประกัน
  • บุคคล/นิติบุคคลเป็นผู้ค้ำประกัน
  • โอนสิทธิรับเงินจากสัญญาจ้างงานเป็นหลักประกัน

ในส่วนของการขอสินเชื่อที่เป็นเงินก้อนใหญ่ การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อนี้นั้นก็จะต้องดูที่สภาพคล่องของตัวหลักประกันนี้ด้วย ถ้าหากว่าคุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีความจำเป็นนำหลักประกันนี้ออกขายสู่ตลาด จะสามารถขายออกไปได้อย่างง่ายดายหรือไม่ คำจำกัดความของหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มีสภาพคล่องสูงนั้นก็คือ ที่ดินหรือบ้านจัดสรรที่มีถนนเข้าออกได้สะดวก มีระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ หรือไม่

รวมไปถึงระยะทางไปสู่สถานอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการในการซื้อที่อยู่อาศัยนั่นเอง อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ หากคุณขอกู้ในวงเงินที่เกินกว่าราคาตลาดธนาคารหรือสถาบันการเงินจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับคุณ เพราะหลักประกันจะต้องสามารถตีค่ากลับมาเป็นเงินทดแทนการชำระหนี้ได้มากกว่าจำนวนหนี้หรือเทียบเท่า

Condition (สภาวการณ์และสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ) มักวิเคราะห์ถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและธุรกิจที่มาขอสินเชื่อเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงด้วย

  • ดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในธุรกิจนี้หรือไม่
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
  • สภาวะทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ
  • สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม
  • นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
  • ระเบียบศุลกากรและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ปัจจัยภายนอก หรือ สภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีผลถึงตัวผู้ขอสินเชื่อ เช่น เศรษฐกิจในขณะนั้น ภาวะเงินเฟ้อ หรือปัญหาสงคราม เป็นต้น เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อความมั่นคงของการงานและรายได้ของผู้ขอกู้สินเชื่อทั้งสิ้น และถ้าหากว่าผู้ขอสินเชื่อมีปัญหา

แน่นอนว่าการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อก็จะต้องมีปัญหาตามมาด้วย หากเศษฐกิจในขณะนั้นส่งผลต่อกิจการของผู้ขอกู้สินเชื่อโดยตรงก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหนี้เสีย เป็นสาเหตุทำให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับคุณ