โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

กยศ. ออกมาตรการช่วยเหลือ “ลูกหนี้” ยกเลิกค้ำ ชะลอฟ้อง ลดดอกเบี้ย

กยศ. ออกมาตรการช่วยเหลือ ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุนในการทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่ ตั้งแต่ปี 64, ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมสู้ภัยโควิด ถึง 31 ธ.ค.64

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา อกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ดังนี้

1.ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุน ในการทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป

2.ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี เป็นการเฉพาะกิจสำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุน และมิได้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้หรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ (ปกติกองทุนคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นคงเหลือ) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564

3.ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมสู้ภัยโควิด จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ประกอบด้วย

  • ลดเบี้ยปรับ 100% กรณีชำระหนี้ปิดบัญชี สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกรายที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีสามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา ส่วนผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ และนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ www.studentloan.or.th
  • โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความ และค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี
  • ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ
  • ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุน และมิได้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้หรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้โดยชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว
  • ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

3.ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ผิดนัดชำระหนี้ประจำปี 2563 และปี 2564 ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความในปี 2564

4.งดการขายทอดตลาด ทรัพย์สินของผู้กู้ยืมเงิน และ/หรือผู้ค้ำประกัน ที่กองทุนได้ขอให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ไว้จนถึงสิ้นปี 2564 โดยกองทุนจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืมเงิน และ/หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี)

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2Pszcw2