โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ม.33 ม.39 ม.40 ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ รับเงินเยียวยาผ่าน “บัญชีธนาคารพร้อมเพย์”

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ตามที่ ครม. เห็นชอบมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน รวมทั้งอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เป็นเวลา 1 เดือนนั้น

โดยเพิ่มประเภทกิจการจากเดิม 4 สาขา อีก 5 สาขา รวมเป็น 9 สาขา คือ 1.กิจการก่อสร้าง 2.กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.กิจกรรมศิลปะ 4.ความบันเทิงและนันทนาการ และกิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ 5.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 6.การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และ9.สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สำหรับรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

1.ลูกจ้าง ม. 33 จ่าย 50 % ของค่าจ้างรายวัน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และจ่ายสมทบให้สัญชาติไทยอีก 2,500 บาท/คน ไม่เกิน 10,000 บาท

2.นายจ้างมาตรา 33 จ่าย 3,000 บาทต่อคน ลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน

3.ผู้ประกันตนมาตรา 39,40 จ่ายรายละ 5,000 บาท

4.ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนและไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 40 ภายในเดือนก.ค.64 เพื่อจะได้รับ 5,000 บาท

5.ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามม.33 ภายในเดือนก.ค. 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามการเยียวยาลูกจ้างม.33 และนายจ้างม.33 รวมทั้งผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้ “คนละครึ่ง” และ “เราชนะ” ที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ

ผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน 5 หมวด ภายใต้ “คนละครึ่ง” และ “เราชนะ” ที่ไม่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนม.40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท

สำหรับการจ่ายเงินเยียวยา เมื่อ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล และตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการโอนเงินเข้า “บัญชีธนาคารพร้อมเพย์” เลขประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ประกันตนทั้งม.33 ม.39 และม.40

รวมถึงนายจ้างในกิจการเจ้าของคนเดียวที่มีชื่อระบุตามทะเบียนพาณิชย์ ขอให้นายจ้างรีบดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชน ให้เรียบร้อย ส่วนนายจ้างที่มีสถานะนิติบุคคล สปส.จะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคลที่แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคมไว้