โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

เปิด “ร้านซ้อมมอเตอร์ไซค์” ทักษะเฉพาะทางน่าลงทุน สร้างรายได้หลักพันบาทต่อวัน

ปัจจุบันจำนวนคนที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลของความคล่องตัว และปัญหาการจราจรติดขัดทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้รถมอเตอร์ไซค์เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า นี่จึงเป็นโอกาสให้กับธุรกิจร้านซื้อมอเตอร์ไซค์ได้เติบโตขึ้น

วันนี้ ชี้ช่องนวย จึงอยากจะมาแนะนำสำหรับใครที่กำลังว่างแผนจะเปิดกิจการนี้ได้รู้ว่าจะต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ และต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง

โอกาสและความเป็นไปได้ของ “ร้านซ้อมมอเตอร์ไซค์”

รถมอเตอร์ไซค์ เป็นยานพาหนะที่มีผู้คนจำนวนมากขับขี่ โดยเราจะเห็นรถมอเตอร์ไซค์วิ่งบนท้องถนน หรือ ในซอย ในหมู่บ้าน สถานที่ทำงาน ต่าง ๆ มากมาย รวมถึงวินมอเตอร์ไซค์อีกมากมาย ทำจากจำนนวนรถมอเตอร์ไซค์ที่มีมากมายนี้ โอกาสที่มอเตอร์ไซค์จะเสีย ต้องซ่อมแซม ก็มีมากขึ้นด้วย โอกาสดี ๆ เป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่สนใจเปิดร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ว่าแต่จะเปิดร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์อย่างไร

สิ่งที่ควรจะรู้ก่อนเปิด “ร้านซ้อมมอเตอร์ไซค์”

1.คุณต้องมีความเชียวชาญทางด้านมอเตอร์ไซค์โดยตรง

จะต้องเข้าใจรถแต่ละรุ่นหรือแต่ละยี่ห้อ และที่สำคัญสามารถประเมินอาการหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ซึ่งทางที่ดีก่อนเปิดร้านควรไปลงเรียนหลักสูตรการซ่อมรถมอเตอร์ไซค์เบื้องต้น และฝึกซ่อมหาประสบการณ์กับร้านอื่น ๆ ก่อน หมายความว่าลองเป็นลูกน้องคนอื่นดูก่อนเพื่อเรียนรู้และฝึกฝีมือก่อนเปิดร้านของตัวเอง จะได้ไม่เจ็บมาก

2.หาทำเลเปิดร้าน

ก่อนอื่นควรทำการสำรวจทำเลเบื้องต้นว่าในย่านนั้นมีร้านซ่อมเปิดอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีเพราะอะไร ต้องรู้เหตุผลเพื่อที่เราจะได้ไม่เสียเวลาในการเปิดร้านแล้ว ไม่มีใครเอารถมาซ่อมเลย เพราะความคิดที่ว่าเปิดร้านบริเวณที่มีคนอยู่เยอะ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ฉะนั้นสำรวจทำเลก่อนเป็นดีที่สุด

3.มากกว่าก่อนซ้อมแซมอย่าลืมที่ขายอุปกรณ์เพิ่มเติม

นอกจากเปิดซ่อมแบบทั่วไปแล้ว เราต้องหาทางเสริมรายได้เพิ่มบ้าง เช่น อาจเพิ่มการขายอะไหล่แต่งรถด้วย ไฟหน้า หมวกกันน๊อค ยางอะไหล่ เครื่องตกแต่งรถมอเตอร์ไซค์ หรือเป็นนายหน้าขายรถมอเตอร์ไซค์ด้วย สมัครกับบริษัทขายรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อทำเป็นอาชีพเสริมได้เช่นกัน

งบประมาณการลงทุนเปิดร้าน

  • เงินทุนโดยประมาณ 30,000 – 50,000 บาท

อุปกรณ์สำหรับใช้ในการซ้อม

ปั้มลม, คู้อ๊อก, เครื่องมือปะยาง, กรรไกรตัดเหล็ก, คีมล็อก, แท่นสว่าน, แทนเจีย, กุญแจชุด, กุญแจสามเหลี่ยม ที่ตั้งวงล้อ เลื่อยตัดเหล็ก ยางปะเย็น การปะยาง, ผ้าดิสเบรคหน้าหลัง, แบตเตอรี่, หลอดไฟหน้า หลอดไฟท้าย, น้ำมันเครื่อง ยางนอก ยางใน เป็นต้น

รูปแบบของการให้บริการ

  • ปะยาง เปลี่ยนยางนอก ยางใน
  • เปลี่ยนลูกปืนล้อ เปลี่ยนสเตอร์
  • ผ่าเครื่อง เปลี่ยนผ้าเบรค
  • เปลี่ยนยางกันน้ำ เปลี่ยนซิลโช้คหน้า
  • เปลี่ยนหลอดไฟ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
  • ขันซี่ลวด ฯลฯ

ข้อแนะนำ

  1. ควรจำหน่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น หัวเทียน น้ำมันเครื่อง ออโต้ลุป ยางนอก/ในหลอดไฟ กระจกข้าง เป็นต้น
  2. ควรให้บริการอย่างรวดเร็ว ทันใจ และราคาย่อมเยาว์

สถานที่ฝึกอบรม

  1. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
  2. วิทยาลัยสารพัดช่าง
  3. การศึกษานอกโรงเรียน
  4. วิทยาลัยการอาชีพทุกจังหวัด