โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ชี้ช่องรวย แนะ 9 ข้อเช็คลิสต์ สำรวจธุรกิจว่าพร้อมเป็น “แฟรนไชส์” หรือยัง ?

คนส่วนใหญ่ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเองเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาหรือต่อยอดธุรกิจให้เติบโตขึ้นไปอีก หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม้พ้น “แฟรนไชส์” วันนี้ ชี้ช่องรวย ข้อเช็กลิสต์ สำรวจธุรกิจว่าพร้อมเป็น “แฟรนไชส์” หรือยัง ? มาลองเช็กดูเลยว่าธุรกิจที่ทำอยู่มีความพร้อมด้านไหนบ้างแล้ว ก่อนจะเริ่มลงมือพัฒนาไปสู่แฟรนไชส์

1.มีความเชียวชาญ หรือชำนาญมากเพียงพอหรือยัง

ความเชียวชาญส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับประสบการและระยเวลาที่ดำเนินธุรกิจ ซึ่งยิ่งระยะเวลานานมากเท่าไหร่ก็จะสามารถการันตีได้ว่าสิ่งคุณได้ผ่านอุปสรรคและปัญหามามากเช่นกัน จนมีความรู้ความเชียวชาญที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

2.มีการขยายธุรกิจ หรือ ขยายสาขามาแล้วพอสมควร

การขยายสาขาถือเป็นอีกหลักประกันที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคนที่จะมาซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ แต่ทั้งนี้ หากการขยายสาขานั้นในแต่ละสสาขาสามารถทำรายได้ และมีหลักฐานชัดเจนให้กับคนที่สนใจได้เป็นตัวประกอบการพิจารณาจะยิ่งดีมากขึ้นไปอีก

3.ธุรกิจสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถทำกำไรได้จริง

ตัวเลขบรรทัดสุดท้ายก็คือ ตัวเลขที่แสดงผลกำไรที่เป็นจุดที่ต้องโฟกัสเป็นอันดับแรกถ้าผลของการคำนวณร้านของคุณไม่สามารถทำกำไรได้มันเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะนำระบบที่ไม่ประสบความสำเร็จนี้ไปขายให้คนอื่นนั้นถ้าธุรกิจของคุณยังไม่ทำกำไรคุณอย่าฝ่าฝืนหลักการสำคัญในข้อนี้เป็นอันขาดเพราะธุรกิจของคุณไม่มีความเป็นไปได้ที่จะระบบแฟรนไชส์

4.ธุรกิจ สินค้า เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จัก

แน่นอนว่า ธุรกิจ สินค้า หรือ บริการ ที่คุณทำอยู่นั้นจะต้องเป็นที่รู้จักหรือยอมรับบ้างแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก หากธุรกิจของคุณยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดหรือยังไม่เป็นที่รู้จักในวงการ คุณก็จะต้องแก้ไขหากลยุทธ์แก้ความบกพร่องในเรื่องนี้เพื่อเสริมสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่ได้ผล

5.สินค้าหรือบริการสามารถเข้าถึงได้หลายกลุ่มเป้าหมาย

สินค้าและบริการที่คุณจะนำมาสร้างระบบแฟรนไชส์จะต้องมีตลาดใหญ่พอสมควรจึงจะเป็นไปได้ที่จะทำระบบแฟรนไชส์ แต่ถ้าคุณคิดดูแล้วว่าธุรกิจของคุณมีกลุ่มผู้ซื้อผู้ใช้ค่อนข้างจำกัดคุณหาวิธีอื่นเพื่อขยายธุรกิจจะเหมาะสมกว่า

6.เหมือนกันได้ แต่ต้องมีความโดดเด่นหรือแตกต่าง

ถ้ามีจุดเด่นที่แตกต่างจากผู้อื่น แน่นอนว่ายอมมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงกว่า แต่ถ้าคุณยังธรรมดาไม่มีคอนเซ็ปท์เด่นชัดก็เป็นไปได้ที่ใครจะมาซื้อแฟรนไชส์ของคุณความแตกต่างอาจเป็นที่ตัวอาหาร รูปแบบการให้บริการ การบรรจุหีบห่อสไตล์การตกแต่งร้าน หรืออะไรที่ผู้คนกล่าวขวัญถึง เช่น สมมติร้านคุณเป็นร้านข้าวมันไก่ที่ขายดีกว่า 10 ร้านที่อยู่ติด ๆ กันนั่นแสดงว่าคุณต้องมีดีที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน คุณจงค้นหามันอะไรคือจุดที่คุณเก่งกว่า เหนือกว่าคู่แข่งขันที่ไม่มีใครมาเทียบได้แล้วหลังทำการโปรโมทอย่างจริงจัง

7.ธุรกิจที่ทำอยู่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้

ถ้าธุรกิจของคุณเรียนรู้ได้ยากเกินไป มีขบวนการที่ซับซ้อนเกินไปมีคนเก่งเช่นคุณเท่านั้นจึงจะทำได้ ถ้าลักษณะสินค้าและบริการของคุณเป็นเช่นนี้ก็ไม่ควรที่จะนำมาทำระบบแฟรนไชส์ เพราะคุณต้องใช้เวลานานในการสอนกันและยังต้องการความสามารถเฉพาะบุคคลอีก อย่างนี้ก็ยากในการสร้างระบบแฟรนไชส์เพราะธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะต้องถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ โดยใช้เวลาการอบรมไม่นานนักและมันยากถ้าคุณต้องประกาศหาบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะที่มีอย่างจำกัดความเป็นไปได้ในธุรกิจคุณก็น้อยลงไปด้วย

8.เป็นธุรกิจที่ใคร ๆ ก็ทำตามได้

มีแฟรนไชส์ขายอาหารเช้าที่เปิดตัวขึ้นมาอย่างฮือฮา แต่ก็ต้องทยอยปิดตัวกันไปเพราะตัวสินค้าขาดคุณสมบัติข้อนี้ คือเป็นธุรกิจที่ลอกเลียนแบบได้ง่ายเกินไปการขายอาหารเช้ามีลักษณะที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายทำให้ผู้ลงทุนไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อแฟรนไชส์สามารถฝึกและทดลองด้วยตัวเองหรือใช้ผู้รู้แนะนำ หรือเรียนระยะสั้นๆ มาก็ทำได้แล้ว

9.เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมาย

แน่นอนว่าเมื่อธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จหรือได้รับความนิยม ย่อมมีผู้ทำตาม ฉะนั้นอะไรที่เป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ควรมีการจดลิขสิทธิ์เอาไว้ เพื่อป้องกันการสวมรอยหรือลอกเลียนแบบ

นี่ก็เป็น 9 ข้อสำคัญเบื้องต้นที่คุณควรจะสำรวจธุรกิจของตัวเองว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน หากมั่นใจและมีความพร้อมมากพอแล้วการพัฒนาธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป