โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

สคช. นำทีมเยือน สปป.ลาว แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทน สร้างความมั่นคงทางพลังงานของทั้ง 2 ประเทศ

วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2566 นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน ในการประชุมวิชาการภายใต้โครงการความร่วมมือด้าน เทคนิค-วิชาการ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ระหว่าง การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) ณ สำนักงานใหญ่ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีผู้แทนจากประเทศลาว ประกอบด้วย ท่านวีละพอน วิชุนนะลาด รองผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาทิ กรมประกันคุณภาพการศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการลาว ส่วนพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมไฟฟ้าลาว แผนกวางแผนพัฒนาบุคลากร HRD รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว และหน่วยงานจากประเทศไทย ประกอบไปด้วยสายงานผลิตไฟฟ้า แผนกพัฒนามาตรฐานอาชีพผลิตไฟฟ้า กฟผ. ศูนย์รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ กฟผ. และ EGAT Academy

นางสาวจุลลดา ได้มีการนำเสนอบทบาทหน้าที่ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน รวมถึงการให้คุณวุฒิวิชาชีพที่เทียบเคียงได้กับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากคุณวุฒิวิชาชีพ ในการสร้างความก้าวหน้าและความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ ตลอดจนนำเสนอกลไกการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยผ่านฐานข้อมูลคุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันฯ และระบบ E-Workforce Ecosystem รวมถึงความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐานอาชีพร่วมกับ กฟผ. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรให้กับ ฟฟล.

 

 

จากการหารือในครั้งนี้ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ได้มีแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา และงานระบบส่ง โดยนำมาตรฐานอาชีพของสถาบันฯ ในสาขาอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า (Combined-cycle/Thermal Power Plant) สาขาผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ (Hydro-Power Plant) และสาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า (Power transmission) ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนสนับสนุนให้เข้าสู่การประเมินสมรรถนะ เพื่อตอกย้ำความเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าของอาเซียนต่อไป