จุดเริ่มต้น ไร่ไม่จน ไร่อ้อยของเกษตรกร
คุณประกอบ เหรียญทอง ณ ตอนนั้นประกอบกิจการตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล ต่อมาเล็งเห็นว่าอ้อยน่าจะต่อยอดทำอะไรได้มากกว่านี้ จึงนำมาทดลองหลายต่อหลายครั้งจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เกิดจากการนำอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ผ่านระบบฆ่าเชื้อด้วยเครื่องฆ่าเชื้อพาสเจอร์ไรซ์ จนมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ ภายใต้แบรนด์ “ไร่ไม่จน” ตั้งอยู่ที่ 203 หมู่ 6 ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ปัจจุบัน “ไร่ไม่จน” ยังคงเป็นรายแรกและรายเดียวในการทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์ มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนเกิดสินค้าที่หลากหลายขึ้นให้กับผู้บริโภค ที่ทำได้ขนาดนี้เพราะความรู้ ความชำนาญและพัฒนาอยู่เสมอ
น้ำอ้อย ไรไม่จน
อุปสรรคที่ต้องเผชิญและการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเริ่มทำธุรกิจไปสักระยะหนึ่ง ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความโตเติบตามตลาดและความต้องการต่าง ๆ สังเกตได้ว่าเงินทุนเริ่มไม่พอจะพัฒนาธุรกิจไปมากกว่านี้ จึงเข้าไปปรึกษาในโครงการของรัฐบาลที่ร่วมกับทาง SME Development Bank ที่จะพัฒนาตัวกระบวนการต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ แล้วได้เงินมาก้องหนึ่งจากโครงการนี้ กระแสเงินสดก็คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะโครงการดังกล่าวทำให้ธุรกิจน้ำอ้อยปรับปรุงและพัฒนามาได้จนถึงปัจจุบัน
ผลิตภัณฑ์จากอ้อยของ ไร่ไม่จน
1.น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์ : น้ำอ้อยคั้นน้ำจากอ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อระบบพาสเจอร์ไรซ์ ผลิตเป็นขนาด 1,000 cc 180 cc และ 150 cc
น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์ ขนาด 150 มล. ไร่ไม่จน
น้ำอ้อย ขนาด 240 มล.
น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์ แบบถุง ไร่ไม่จน
น้ำอ้อยดำ 100 % ไร่ไม่จน
2.น้ำอ้อยผสมวุ้นน้ำอ้อย : น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์ 80% ผสมกับเนื้อวุ้น จึงได้วุ้นน้ำอ้อยที่มีรสชาติแปลกใหม่ มีความนุ่ม ไม่เหนียวติดฟัน หอมกลิ่นน้ำอ้อย ซึ่งเป็นผู้ผลิตเป็นแห่งแรกของเมืองไทย ผลิตเป็นขนาด 5 กิโลกรัม และ 180 cc
น้ำอ้อยวุ้นพาสเจอรืไรซ์ ไร่ไม่จน
3.น้ำอ้อยผสมนม : น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์ 60% ผสมนมโคธรรมชาติ ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ระบบปิด จะมีคุณค่าทางอาหาร และรสชาติของนมกับน้ำอ้อยรวมกันทำให้มีลักษณะเด่นไม่เหมือนใคร ได้ความหวานแบบธรรมชาติ แต่ไม่มีกลิ่นคาวของนม ผลิตเป็นขนาด 1,000 cc และ 150 cc
น้ำอ้อยนมพาสเจอร์ไรซ์ ไร่ไม่จน
รายได้และกำไรของ ไร่ไม่จน
รายได้และกำไรของไร่ไม่จน อ้างอิงจากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในช่วงปี2564-2565 รายได้รวมปี 2564 อยู่ที่ 18,644,627.00 บาท น้อยกว่าปี 2563 อยู่ที่ -2.22% มีกำไร(ขาดทุน) สุทธิ -7,854,810.16 บาท น้อยกว่าปี 2563 อยู่ที่ -117.95%
ในขณะที่รายได้รวมปี 2565 อยู่ที่ 13,779,523.63 บาท น้อยกว่าปี 2564 อยู่ -26.09% มีกำไร(ขาดทุน) สุทธิ -2,355,462.89 บาท เพิ่มขึ้นมาจากปีก่อน 70.01%
ไร่ไม่จน มีแฟรนไชส์หรือไม่?
คำตอบคือ มีแฟรนไชส์ เพราะ กลุ่มลูกค้าของไร่ไม่จนเป็นกลุ่มลูกค้าแฟรนไชส์เป็นหลักกว่า มีสาขา 70 กว่าสาขาทั่วประเทศ ณ ตอนนี้มี 2 แพ็กเกจให้เลือก
1.SUMMER PACKAGE ราคา 89,000 บาท (จากราคาเต็ม 139,000) ตอนนี้จำกัดเพียง 10 เซ็ต
ลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จาก 70,000 บาท เหลือ 20,000 บาท เริ่มต้นจ่ายค่าแฟรนไชส์ 44,500 บาทและส่วนที่เหลือชำระ ณ วันติดตั้ง 44,500 บาท + เงินประกันแฟรนไชส์ 20,000 บาท พร้อมอุปกรณ์และวัตถุดิบในการเปิดร้าน
Summer Package ไร่ไม่จน
2. FULL PACKAGE PLUS ราคา 109,000 (จากราคาเต็ม 159,000)
ลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จาก 70,000 บาท เหลือ 20,000 บาท เริ่มต้นจ่ายค่าแฟรนไชส์ 59,000 บาท ส่วนที่เหลือ ชำระ ณ วันติดตั้ง 50,000 บาท พร้อมอุปกรณ์และวัตถุดิบในการเปิดร้าน
Full Package Plus
ช่องทางติดตามข่าวสารแฟรนไชส์และผลิตภัณฑ์
https://www.raimaijon.com/th/
https://www.facebook.com/sugarcane.raimaijon/?locale=th_TH