การซื้อแฟรนไชส์เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ แต่ไม่ต้องการทำงานหนักในการสร้างแบรนด์และระบบใหม่ อย่างไรก็ตามการซื้อแฟรนไชส์ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด บทความนี้จะแสดงวิธีการซื้อแฟรนไชส์ใน 8 ขั้นตอน
1.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโอกาสทางธุรกิจในแฟรนไชส์ที่จะซื้อ สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาแฟรนไชส์ที่เหมาะสมตามงบประมาณคุณสมบัติและความสนใจส่วนตัวของคุณ หากต้องการทราบว่าแฟรนไชส์แบบใดเหมาะสำหรับคุณคุณ ควรตรวจสอบข้อกำหนดแฟรนไชส์ทั่วไปก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีคุณสมบัติ มีข้อมูลที่ถูกต้อง จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้วยตนเอง ว่าตัวคุณมีทักษะอย่างเพียงพอสำหรับแฟรนไชส์ที่จะซื้อ ตลอดจนมีทรัพยากรที่เหมาะสม
2.คัดเลือกแฟรนไชน์ซอร์ที่เหมาะสมไม่น้อยกว่า 2-3 รายมาเลือก ไม่ควรเลือกเพียงรายเดียว เป็นความเสี่ยงเกินไป เมื่อเลือกได้แล้ว พยายามศึกษารายละเอียดในสิ่งเหล่านี้ เช่น ขนาดของระบบแฟรนไชส์ ประเมินแนวโน้มการเติบโต 3 ปีสถานะแบรนด์ของแฟรนไชส์น่าเชื่อถือ เข้มแข็งหรือไม่ ในฐานะที่เราเป็นแฟรนไชส์ซีร์(ผู้ซื้อแฟรนไชส์)มีโอกาสมากน้อยเพียงใด ทีมผู้บริหารแฟรนไชส์มีประสบการณ์ในธุรกิจมากน้อยเพียงใด เงินลงทุนครั้งแรกเท่าไหร่ แล้วค่าใช้จ่ายต่อเนื่องมีอะไรบ้าง การสนับสนุนที่เสนอให้กับแฟรนไชส์ (เช่นการฝึกอบรมการจัดหาเงินทุนการให้ความช่วยเหลือด้านการดำเนินงาน)
3.เมื่อเลือกได้แล้วก็นัดพูดคุยกับแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งนี้เพื่อขอข้อมูลที่ลึกขึ้น ตลอดจนได้พบกับทีมผู้บริหารเพื่อสอบถามสิ่งที่คุณสงสัยและตรวจสอบศักยภาพซึ่งกันและกัน สิ่งที่คุณควรสังเกตคือ บุคลิกภาพหรือวัฒนธรรมไม่เหมาะสม สัญญาและ / หรือหนังสือรับรองที่ไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร ตอบไม่ตรงคำถาม ให้ระมัดระวังรายละเอียดข้อระบุต่างๆ ที่ไม่กระจ่างและดูแล้วขายยาก
4.ตรวจสอบข้อสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียดและระมัดระวังอย่างที่สุด ทั้งนี้เพราะสัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาที่เขาจะผูกมัดคุณในการทำธุรกิจหลังจากนี้ต่อไป หากมูลค่าของธุรกิจหรือการซื้อแฟรนไชส์มีราคาสูง ขอแนะนำให้ปรึกษานักกฎหมายที่มีความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ระหว่างที่ตกลงต่อรองกันด้วยวาจาว่าจะให้สิ่งใดเพิ่มเติม ควรที่จะต้องมีสาระดังกล่าวในสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
5.ขั้นตอนต่อมาคือ งบประมาณการลงทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีตั้งแต่ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ งบลงทุนเพื่อสร้างการเติบโต สิ่งเหล่านี้ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อนำไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน หากแฟรนไชส์ซอร์ของคุณไม่มีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ หรือไม่มีข้อมูลเชิงลึก ไม่มีความช่วยเหลือให้กับคุณในการขอสินเชื่อ คุณควรปฏิเสธการซื้อแฟรนไชส์ดังกล่าว นอกจากนี้ก่อนที่จะขอสินเชื่อจากธนาคาร ควรที่จะศึกษาถึงกระแสเงินสดอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า เพื่อวางแผนในการกู้เงินในระยะยาวเพื่อให้ธุรกิจไม่สะดุดในระยะที่ยังก่อร่างสร้างตัว
6.ลำดับต่อไปคือการเลือกสถานที่ เรื่องนี้ทางแฟรนไชส์ซอร์ควรมีหน้าที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาคุณ ทั้งนี้เนื่องจากเขาเป็นคนรู้จักธุรกิจของเขามากที่สุด และเขาจะมองออกว่าลูกค้าเขาคือใคร พื้นที่ตรงที่จะเปิดร้านนั้นมีลูกค้าเขาอยู่หรือไม่ นอกจากนี้การตัดสินใจเรื่องสถานที่ยังหมายรวมถึงว่าเราจะเช่าเพื่อทำการค้าหรือจะซื้อเพื่อทำการค้า ซึ่งการตัดสินใจทั้งสองแนวทางใช้เงินที่แตกต่างกัน มีระยะเวลาในการคืนทุนที่ต่างกัน และมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน
7.การฝึกอบรมและเวิร์กช็อปเป็นสิ่งจำเป็นที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จะต้องจัดให้คุณ เขาจะต้องมีหลักสูตรเพื่ออบรมคุณ พนักงานของคุณอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ มีการให้คุณและพนักงานของคุณลงภาคสนามได้ปฏิบัติจริงในร้านของเขา มีการแนะนำซัพพลายเออร์ สอนระบบการบริหารหลังร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบัญชี ภาษี การวิเคราะห์ต้นทุน การบริหารเงินสด การบริหารกำไร เป็นต้น
8.เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการเปิดร้าน คุณจะต้องสอบถามแฟรนไชส์ซอร์ของคุณให้ชัดเจนว่าเขาจะให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์อย่างไรกับการเปิดร้านของคุณ มีโปรแกรมส่งเสริมการขายอะไรบ้าง เพื่อให้ร้านสามารถสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณควรให้เขานำประสบการณ์จากการบริหารการเปิดร้านหลายๆ แห่งของเขามาใช้กับคุณ มีสิ่งใดต้องทำ มีสิ่งใดต้องเตรียม ที่สำคัญควรเตรียมงบประมาณการตลาดในปีแรกไว้เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าได้รู้จัก