โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ลำดับขั้นตอนดำเนินการก่อนเปิด “ร้านเบเกอรี่” ทำอะไรบ้าง ภายในระยะเวลา 1 ปี

อีกหนึ่งกิจการที่กลุ่มคนรุ่นใหม่มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าของคู่กันกับ “ร้านกาแฟ” คือ “ร้านเบเกอรี่” จากจำนวนการบริโภคเบเกอรี่ที่เพิ่มขึ้นพอๆ กันกับจำนวนผู้ดื่มกาแฟ นอกจากนี้ ทั้งสองธุรกิจยังเป็นธุรกิจที่เอื้อถึงกัน เช่น ร้านกาแฟบางร้านก็นำเอาเบเกอรี่มาขายเป็นเมนูเสริม หรือร้านเบเกอรี่เองก็มีเมนูกาแฟเสริมกับทางร้านเช่นเดียวกัน

เกี่ยวกับความสนใจของธุรกิจเบเกอรี่นี้ ทาง สมาคมเบเกอรี่ (ประเทศไทย) ได้เปิดเผยว่า ธุรกิจร้านเบเกอรีในไทย มีการขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา จากพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยสมัยใหม่ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ และหันมาบริโภคเบเกอรี่เป็นอาหารหลัก หรืออาหารว่างระหว่างมื้อกันมากขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของธุรกิจร้านกาแฟ หรือ คาเฟ่ในไทยที่มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเบอเกอรี่เติบโตขึ้นสูงตามไปด้วย

ทั้งนี้ คาดว่า ธุรกิจเบเกอรี่ของไทยในปีนี้จะขยายตัวไม่น้อยกว่า 1020% เมื่อเทียบกับปีก่อนจนทำให้ตลาดรวมของเบเกอรีในไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน ตลาดเบเกอรีในไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มขนมเค้ก ในสัดส่วน 70% และกลุ่มขนมปัง 30%

เมื่อแนวโน้มเป็นเช่นนี้ ก็พอจะมองภาพออกแล้วว่า ธุรกิจร้านเบเกอรี่ยังเติบโตไปได้เรื่อยๆ และสำหรับคนที่อยากจะเป็นเจ้าของร้านเบเกอรี่เล็กๆ สักร้าน จะมีการวางแผนหรือขั้นตอนเตรียมการอย่างไร ภายในเวลา 1 ปี ชี้ช่องรวย มีข้อแนะนำ ดังนี้

เดือนที่ 1-3 ตระเวนไปตามร้านเบเกอรี่ ที่ได้รับความนิยม

หัวข้อปฏิบัติ

-ชิมด้วยตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าขนมชนิดไหนที่ ได้รับความนิยม นอกจากไปตามร้านแบบที่ตัวเองคิดไว้แล้ว ยังต้องตระเวนไปตามร้านที่มีรูปแบบแตกต่างกันไปอีกด้วย เพื่อศึกษาข้อดี แล้วนำมาปรับใช้กับร้านของตัวเอง

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

1.หาข้อมูลล่าสุดจากโทรทัศน์ นิตยสาร หรืออินเตอร์เน็ต

2.วิเคราะห์เหตุผลที่ร้านเหล่านั้นได้รับความนิยม เช่น รสชาติ บรรยากาศ บริการ ฯลฯ

3.นอกจากขนมปังและขนมเค้กแล้วยังต้องดูแนวโน้มด้านอื่นด้วย

เดือนที่ 4-5 วางรูปแบบร้านเบเกอรี่ แบบคร่าวๆ

หัวข้อปฏิบัติ

-พิจารณาข้อมูลต่างๆ แล้วร่างโครงสร้างร้านเบเกอรี่ในรูปแบบของตัวเองออกมา โดยดู ว่าต้องการขายขนมแบบใดให้ลูกค้าอยากให้ลุกค้ากลุ่มใดชื่นชอบ แล้วร่างแบบที่คิดไว้ออกมาก่อนในขั้นต้น

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

1.พิจารณาให้รอบด้าน เช่น กลุ่มลูกค้า ทำเลที่ตั้ง เงินทุน เป็นต้น

2.ใช้แนวคิดที่ตัวเองคิดว่าดี อย่างฟังคนอื่นบอกว่าดีแล้วทำตามเป็นอันขาดต้องทดลองและพิจารณาด้วยตัวเอง

เดือนที่ 6-8 มุ่งไปข้างหน้า เตรียมเปิดร้าน

หัวข้อปฏิบัติ

-ทำตามแนวคิดในการดำเนินกิจการ โดยเริ่มจากการเสาะหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มองหาพื้นที่ที่ชอบ แล้วพิจารณาถึงขนาด รูปแบบ และลักษณะของร้าน และเพื่อควบคุมงบประมาณจึงต้องคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆให้ละเอียดและใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

1.สำรวจข้อมูลต่างๆ เช่น ราคาการหมุนเวียนลูกค้าของคู่แข่ง และ ระดับลูกต้า เป็นต้น

2.เลือกและกำหนดบริษัทออกแบบและตกแต่ง คำนวณว่าต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไร

3.วางโครงสร้างของพื้นที่หน้าร้านและสินค้าจะต้องเตรียมอะไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายเท่าไร

เดือนที่ 9 เริ่มซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ

หัวข้อปฏิบัติ

-เตรียมอุปกรณืต่างๆให้พร้อม ตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดใหญ่ไปจนถึงชิ้นเล็กๆ การเลือกวัตถุดิบต้องระมัดระวังในการเลือกบริษัทผู้จำหน่าย ควรมีความรู้ความเข้าใจเกียวกับผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ รวมทั้งจุดเด่นของเครื่องปรุงแต่ละชนิดก็ต้องศึกษาให้ถ่องแท้

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

1.ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์ขนาดใหญ่ต้องตรวจสภาพการทำงานของเครื่องให้เรียบร้อย

2.การเลือกซื้อควรพิจารณาจากรสนิยมของตัวเอง และต้องเปรียบเทียบสินค้าจากผู้จัดจำหน่ายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป

เดือนที่ 10 เตรียมเงินทุน

หัวข้อปฏิบัติ

-พยายามใช้เงินทุนกับการลงทุนขั้นต้นให้น้อยที่สุดเท่าีที่จะเป็นไปได้ เพื่อรักษาเงินทุนหมุนเวียนเอาไว้ หากจำเป็นต้องกู้ยืมควรพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมและรายละเอียดอื่นๆ ให้ดี

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

1.คำนวณดูว่าสามารถกู้เงินได้เท่าไร

2.ผู้ที่ต้องการกู้ยืมควรศึกษาวิธีการเขียนแผนการดำเนินกิจการให้เข้าใจ

3.คำนวณค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน รวมทั้งเป้าหมายในการดำเนินกิจการ

เดือนที่ 11-12 ใกล้จะถึงเวลาเปิดร้านแล้ว

หัวข้อปฏิบัติ

-ในช่วงเวลานี้ต้องตัดสินใจถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น ตั้งชื่อร้าน ออกแบบเครื่องหมายการค้า ทำแผ่นป้ายรายการสินค้า วางแผนการจัดเรียงสินค้า ออกแบบพื้นที่ภายในร้านพื้นที่สำหรับลูกค้า กำหนดเวลาอบขนมก่อนเปิดร้านอาจกระจายสินค้าให้ทดลองชิมเพื่อเป็นการประชาสีมพันธ์ไปในตัว

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

1.ตรวจสอบรายการอาหาร แผ่นป้ายและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ

2.เลือกซื้อวัตถุดิบ สินค้าคลคลัง

3.ทดลองทำในสถานการณ์จริงและตรวจสอบว่าเหมาะสมหรือไม่ แล้วปรับลำดับการทำงานให้ลงตัว ควบคุมรสชาติให้แม่นยำ

อย่างไรก็ตาม การเปิดร้านเบเกอรี่ยังต้องมีองค์ประกอบอะไรหลายอย่าง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อม และเงินลงทุนของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร แต่ในไทม์ไลน์ระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าเป็นระยะเวลาพอเหมาะในการวางแผนและเตรียมการ ทาง ชี้ช่องรวย ก็ขอเอาใจช่วยให้คุณเดินหน้าต่อไปนะคะ